วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ตูหนา ไหลหูดำ



ชื่อไทยตูหนา ไหลหูดำ
ชื่อสามัญTRUE EEL
ชื่อวิทยาศาสตร์Anguilla bicolor
ถิ่นอาศัยพบอยู่ตามปากแม่น้ำและป่าชายเลน ปลาจะเลี้ยงตัวในบริเวณดังกล่าวแล้วค่อยๆ ย้ายถิ่นเข้ามาในแม่น้ำตอนลึกจนเป็นตัวเต็มวัย พบปลาตูหนาเป็นครั้งแรกเมื่อ พ . ศ . 2469 จับได้จากคลองบางกะปิ กรุงเทพมหานคร มีความยาว 64 ซม . พบมากทางภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน ตั้งแต่ จ . ระนอง ไปจนถึงมาเลเซียและดินโดนีเซีย ทางภาคเหนือพบในบริเวณลุ่มน้ำสาละวิน ซึ่งอยู่แถบมหาสมุทรอินเดีย ปลาตูหนาชนิดนี้ได้เดินทางขึ้นไปถึงแม่ปายในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ชาวบ้านเรียก " ปลาสะแงะ "
ลักษณะทั่วไปปากเรียวเล็กและอยู่ปลายสุดมีฟันขนาดเล็กและแหลมคม ครีบหูกว้างกลมมน ครีบหลัง ครีบก้นและครีบหางเชื่อมติดเป็นเนื้อเดียวกันไม่มีครีบท้อง จุดเริ่มต้นของครีบก้นอยู่ประมาณกึ่งกลางตัว ส่วนจุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่ล้ำหน้าครีบก้นมาก ปลาในวัยอ่อนจะอาศัยอยู่ในน้ำจืด จนกว่าจะเจริญเติบโตเต็มวัย ครีบอกมักมีสีคล้ำ ในตัวเต็มวัยครีบหลังและครีบก้นมีสีคล้ำหรือสีน้ำตาลอ่อนที่ด้านหลัง ด้านท้องมีสีขาว ในปลาวัยอ่อนมีรูปร่างคล้ายวุ้นเส้น มีสีแดงเรื่อ
การสืบพันธุ์-
อาหารธรรมชาติกินปลา กุ้งและปูนา
การแพร่กระจาย-
สถานภาพ
เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ



   ปลาตูหนา หรือ ปลาไหลหูดำ หรือปลาไหลทะเล มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anguilla bicolor อยู่ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguilidae) มีรูปร่างอ้วนป้อม ลักษณะโดยทั่วไปเหมือนปลาสะแงะ (A. bengalensis) ซึ่งอยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกัน แต่ปลาตูหนามีรูปร่างที่เล็กกว่า ครีบอกของปลาตูหนามีสีคล้ำ ในปลาโตเต็มวัยครีบหลังและครีบก้นมีสีคล้ำด้วยเช่นกัน จึงเป็นที่มาของชื่อว่า ปลาไหลหูดำ ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนไม่มีลวดลาย ใต้ท้องสีขาว ขนาดโตเต็มที่ได้ 1.5 เมตร



   ในประเทศไทยพบได้ตั้งแต่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกแถบริมชายฝั่งอันดามัน เรื่อยไปจนถึงประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย และในภาคตะวันตกในชายแดนที่ติดกับประเทศพม่า เช่น จังหวัดตาก, แม่ฮ่องสอน เป็นต้น โดยชาวกระเหรียงเรียกปลาชนิดนี้ว่า "หย่าที" ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกพบได้ตั้งแต่พม่า บังคลาเทศ จนถึงอินเดีย โดยปลาที่พบในประเทศแถบนี้จะเป็นสายพันธุ์ย่อยที่เรียกว่า A. b. pacifica ส่วนปลาที่พบในแถบเอเชียตะวันออกมีชื่อเรียกว่า A. b. bicolor
   ปลาตูหนามีพฤติกรรมจะกลับไปผสมพันธุ์และวางไข่แถบป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำ ลูกปลาแรกเกิดมีลำตัวใสเหมือนวุ้นเส้น มีสีแดงเรื่อ จากนั้นเมื่อโตขึ้นจะค่อยอพยพว่ายทวนน้ำมาสู่แหล่งน้ำจืด ซึ่งบางครั้งอาจพบได้ไกลถึงลำธารน้ำตกบนภูเขา
   ปลาชนิดนี้เป็นที่นิยมอย่างมากโดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายจีนในแถบจังหวัดระนองหรือตรัง ถือเป็นเมนูราคาแพง สามารถนำไปปรุงได้หลากหลาย เช่น ต้มยำ ย่าง หรือทำน้ำแดง ในต่างประเทศที่นิยมบริโภค ได้แก่ จีนและญี่ปุ่น โดยหน่วยงานประมงของประเทศเหล่านี้ได้มีการส่งเสริมให้เป็นปลาเศรษฐกิจ มีการทำฟาร์มเพาะขยายพันธุ์ แต่ว่าเนื้อมีกลิ่นคาวมาก จึงนิยมปลาตูหนาญี่ปุ่น (A. japonica) มากกว่า



   สำหรับชาวพื้นเมืองในหมู่เกาะโซโลมอนจะชื่นชอบปลาชนิดนี้มาก โดยจะไม่มีการจับมาบริโภค แต่จะเลี้ยงด้วยเนื้อเมื่อพวกมันว่ายทวนน้ำมาถึงบริเวณต้นน้ำ เพราะปลาชนิดนี้กินเนื้อและซากสัตว์เป็นอาหารซึ่งทำให้แหล่งต้นน้ำนั้นสะอาด
   ปลาตูหนามีชื่อเรียกที่เป็นไทยกลาง ๆ ว่า ปลาไหลหูดำ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Anguilla bicolor อันเป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ Anguillidae ซึ่งอาจพบได้ในทวีปต่าง ๆ ทั่วโลก แต่เมืองไทยกลับหายาก และพบมากที่จังหวัดตรัง (รวมทั้งจังหวัดใกล้เคียง)
   เจ้าปลาไหลหูดำจัดว่าเป็นอาหารโอชะซึ่งอาจมาสั่งบริโภคได้จากร้านอาหาร ภัตตาคารดังๆในตลาดเมืองตรัง นักท่องเที่ยวผู้นิยมการชิมอาหารจะไม่ยอมพลาดเมนูพิเศษจานนี้เด็ดขาด แค่ตูหนาผัดเผ็ด ต้มยำ หรือน้ำแดง ก็อร่อยไม่รู้จบแล้ว แต่บางคนอาจชอบย่างซีอิ๊วญี่ปุ่นแบบปลาซาบะ หรือห่อกระดาษฟอยด์ทำเป็นปลาเผาก็อร่อยเหนือปลาอื่นๆ เพราะเนื้อเหลืองชวนกิน แถมยังเหนียวแน่น มีรสหวานในตัว ชนิดที่ไม่ต้องพึ่งน้ำจิ้มก็ยังอร่อยเด็ด ไม่แพ้ปลาอุนาหงิของญี่ปุ่นแน่ 


   เจ้าปลาเนื้ออร่อยตัวนี้มีลำตัวด้านบนสีน้ำตาลอมแดงหรือสีน้ำตาลเทา สีเข้มด้านบนแล้วค่อยจางลงมา ท้องสีขาวปนเหลืองอ่อน รูจมูกมีท่อเล็กๆยื่นออกมาทั้งสองข้าง ลำตัวมีเกล็ดละเอียด รูปร่างยาวคล้ายงู ต่างจากปลาไหลนาก็ตรงที่มีครีบอกสองข้างซึ่งบางคนเรียกว่าหู อันเป็นที่มาของคำว่าปลาไหลหูดำ เพราะครีบที่มีสีจางออกดำนี่เอง ตูหนาขนาดใหญ่อาจมีลำตัวขนาดแขนอ้วน ๆ ของผู้ใหญ่บางคน และอาจยาวได้ถึง 100 เซนติเมตรหรือกว่านั้น แต่ก็ไม่น่ากลัวเพราะหน้าตาที่ดูเป็นมิตรของมัน
   วงจรชีวิตของปลาตูหนาออกจะน่าทึ่ง เพราะเจริญเติบโตในน้ำจืด แต่เมื่อถึงคราวจะสืบพันธุ์ออกลูกหลานกลับต้องดั้นด้วางไข่กลางทะเลอันดามัน ครั้นพบไข่ฟักเป็นตัวอ่อน แล้วก็ถึงคราวจะเดินทางกลับมาอยู่น้ำจืดอีกครั้ง ทำมาหากินและเจริญเติบโตในน้ำจืด โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือแม่น้ำตรังและแม่น้ำปะเหลียน ลูกปลาที่เหลือกลับมาเป็นอาหารของมนุษย์จึงมีไม่สู้มากนัก ตูหนาจึงกลายเป็นของหายากและมีราคา โดยเฉพาะในยุโรปและญี่ปุ่นปลาชนิดนี้มีราคาแพงมาก คนรวยเท่านั้นจึงจะเสาะแสวงหามาบริโภคได้ แต่ในจังหวัดตรังคงไม่ต้องเป็นเศรษฐีก็สามารถสั่งปลาตูหนามาลิ้มรสได้โดยง่าย

ราคาสูง หาทานได้ยาก ราคาตกราวตัวละ 700 บาท 


ลักษณะเนื้อแน่น มีเมือกมา วิธีเอาเมือกออกให้เอาไปลวกน้ำร้อน


สูตรอาหารปลาไหลทะเล เช่น ปลาไหลผัดซอสฮ่องกง




ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:


กรมประมง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม