ปลาบ้า (อังกฤษ: Mad carp, Sultan fish) เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Leptobarbus hoevenii อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ มีรูปร่างยาว ลำตัวค่อนข้างกลม หัวโต นัยน์ตาค่อนข้างโต ปากกว้างมีหนวดขนาดเล็ก 2 คู่ เกล็ดมีขนาดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนของหลังสีดำปนเทา ท้องสีขาวจาง ครีบหางสีแดงสดหรือชมพู ครีบอื่นสีแดงจาง ๆ มีขนาดความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 80 เซนติเมตร อาหารได้แก่ เมล็ดพืช แมลง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก
ปลาบ้า อาศัยอยู่ตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ทั่วประเทศ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำโขง แม่น้ำน่าน แม่น้ำมูล รวมถึงลำธารในป่าดงดิบ มักอยู่รวมเป็นฝูง โดยปลาชนิดนี้จะกินลูกลำโพงเข้าไป แล้วสะสมพิษในร่างกาย เมื่อมีคนนำไปกินจึงมีอาการมึนเมา อันเป็นที่มาของชื่อ จึงไม่เป็นที่นิยมรับประทานมากนัก แต่ที่มาเลเซียนิยมรับประทานมาก จนได้ชื่อว่า "ปลาสุลต่าน" มีฤดูวางไข่ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 15-18 ชั่วโมง
ปลาบ้า ยังมีชื่อเรียกที่ต่างออกไป เช่น ปลาไอ้บ้า, ปลาพวง ในภาษาอีสานเรียกว่า ปลาโพง นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยมีชื่อเรียกเฉพาะในแวดวงว่า "แซมบ้า"
เหตุที่ชื่อปลาบ้า เพราะปลาชนิดนี้กินพวกเมล็ดของพันธุ์ไม้แทบทุกประเภทเป็นอาหาร เมล็ดของต้นไม้บางชนิดมีพิษ เช่น ลูกลำโพงเข้าไป แล้วสะสมพิษในร่างกายสารพิษจะเข้าไปสะสมอยู่ในตัวปลา เมื่อจับไปบริโภคจะทำให้เกิดอาการมึนเมา ซึ่งเกิดในบางฤดูและบางท้องถิ่นเท่านั้น โดยปกติเนื้อของปลามีรสชาติดี
แต่ที่มาเลเซียนิยมรับประทานมาก จนได้ชื่อว่า "ปลาสุลต่าน" มีฤดูวางไข่ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 15-18 ชั่วโมง
นิสัย-รักสงบ ตื่นตกใจง่าย เลี้ยงง่าย โตเร็ว ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ปราดเปรียวว่องไว
ถิ่นอาศัย
เป็นปลาที่อยู่รวมกันเป็นฝูง อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำไหลและนิ่งตามหนองบึงในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี นครสวรรค์ พิจิตร รวมทั้งลำธารในป่าดงดิบ แม่น้ำสายใหญ่ต่างๆ เช่นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำน่าน แม่น้ำมูล และแม่น้ำโขง อาหารได้แก่ เมล็ดพืช แมลง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก ขนาด-พบทั่วไปมีความยาวประมาณ 20-30 ซ.ม. ขนาดใหญ่สุดยาวถึง 80 ซ.ม.
ประโยชน์- เนื้อใช้ปรุงอาหารประเภทต้มยำ แต่ไม่เป็นที่นิยมรับประทานมากนัก
ข้อขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
หนังสือภาพปลาและสัตว์น้ำของไทย กรมประมง
หนังสือปลาน้ำจืดไทย โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์
หนังสือปลาน้ำจืดไทย โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น