ปลากระเบนหรือเรียกในภาษาอังกฤษว่า
สตริง-เร
(stingray)
สามารถพบได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็มปลากระเบนน้ำจืดที่พบมีอยู่
6
ชนิด
คือ
ปลากระเบนราหู ถ่ายภาพโดย ธีธัช คล้ายแก้ว |
1.
ปลากระเบนราหู/ปลากระเบนน้ำจืดเจ้าพระยา ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
ฮิมาทูรา เจ้าพระยา Himantura
chaophraya, Monkolprasit & Roberts, 1990
ซึ่งจากชื่อบอกให้เรารู้ว่าปลากระเบนชนิดนี้พบครั้งแรกในโลกในแม่น้ำเจ้าพระยา
เป็นของที่เราน่าภูมิใจมาก
และควรรักษาปลากระเบนชนิดนนี้อยู่คู่แม่น้ำเจ้าพระยา
เหมือนกับชื่อของปลา
ปลากระเบนชนิดนี้มีขนาดใหญ่มาก
ความกว้างของตัวปลาที่พบ
240
เซนติเมตร
หนัก 600
กิโลกรัม
มีผิวของลำตัวด้านหลังเป็นสีน้ำตาล
ส่วนท้องอาจจะมีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทา
พบในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืดและน้ำกร่อยเช่น
แม่น้ำโขง แม่น้ำเจ้าพระยา
เกาะบอร์เนียวตะวันออก
ตอนเหนือของออสเตรเลีย
เกาะนิวกินี
ปลากระเบนเฮนไล |
ปลากระเบนเฮนไล |
2.
ปลากระเบนเฮนไล ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
โปตามอนทรายกอน เฮนไล
Potamotrygon
henlei เป็นปลากระเบนน้ำจืดที่มีคนนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากชนิดหนึ่ง
เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่สุดจะมีความกว้างของตัวประมาณ
45
เซนติเมตร
เป็นปลาที่มีลักษณะคล้ายปลากระเบนโปลกาด๊อทมากเลยเพียงแต่
ปลากระเบนชนิดนี้จะมี
สีเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลดำ
และจุดบนลำตัวจะมีสีอ่อน
คือ สีขาวปนเหลือง
จึงทำให้ผู้เลี้ยงปลากระเบนเรียกว่า
ปลากระเบนโปลกาด๊อทจุดเหลือง"
และจุดสีขาวปนเหลืองจะพบทั่วไปจนถึงใต้ท้อง
ปลา แต่ปลากระเบนโปลกาด๊อทไม่มีพบจุดที่ท้องปลา
พบในแหล่งน้ำในทวีปอเมริกาใต้
ปลากระเบนลายเสือดาว |
3.
ปลากระเบนลายเสือ หรือ
ปลากระเบนลายเสือดาว หรือ
ชื่อภาษาอังกฤษว่า มาเบิล
วิปเรย์(Marbled
whipray) เป็นปลากระเบนน้ำจืดชนิดหนึ่ง
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ฮิมาทูรา
อ๊อกซีรินชัส (Himantura
oxyrhynchus) เป็นปลาที่มีรูปร่างคล้ายกับปลากระเบนธง
(Dasyatidae)
เช่นปลากระเบนราหู
หางยาว โคนหางมีเงี่ยงแหลมมีพิษ
1
หรือ
2
ชิ้น
ที่สามารถงอกใหม่ได้เมื่อหลุดหรือหักไป
หางไม่มีริ้วหนัง
พื้นลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเหลือง
กลางหลังมีเกล็ดเป็นตุ่มหยาบ
ๆ มีจุดดำคล้ายลายของเสือดาวกระจาย
อยู่ทั่วตัวไปจนปลายหาง
อันเป็นที่มาของชื่อ
พื้นลำตัวด้านล่างสีขาว
หากินตามพื้นท้องน้ำโดยอาหารได้แก่
ปลาขนาดเล็ก,
สัตว์หน้าดิน
และสัตว์มีเปลือก
จะว่ายขึ้นมาหากินบริเวณผิวน้ำบ้างเป็นบางครั้ง
มีขนาดประมาณ 40
เซนติเมตร
ปลากระเบนลายเสือเป็นปลาที่อาศัยได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย
แต่พบในน้ำจืดมากกว่า
มักจะพบตามปากแม่น้ำที่เชื่อมต่อกับทะเล
เป็นปลาพื้นเมืองของประเทศในกลุ่มอาเซียน
แหล่งที่พบเช่น ปากแม่น้ำเจ้าพระยา,
ปากแม่น้ำโขง,
ทะเลสาบเขมร
และพบได้ไกลถึงปากแม่น้ำบนเกาะบอร์เนียวของอินโดนีเซีย
เป็นต้น ในประเทศไทยมีรายงานว่าพบครั้งแรกที่
แม่น้ำน่านซึ่งอยู่ห่างไกลจากปากแม่น้ำ
เนื่องจากเป็นปลาที่มีลวดลายสวยงามจึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
ส่งผลให้ราคาจำหน่ายในท้องตลาดสูง
ประกอบกับเนื่องจากปลาชนิดนี้เป็นปลาที่อาศัยได้ในน้ำกร่อย
การเลี้ยงในน้ำจืดเพียงอย่างเดียวมักจะเลี้ยงไม่ค่อยรอด
ดังนั้นผู้เลี้ยงปลาชนิดนี้ควรเติมเกลือลงในน้ำที่เลี้ยงให้ความเค็มประมาณ
2-8
ส่วนในพันส่วน
มักจะให้อัตราการรอดมากกว่า
ปลากระเบนลาว |
ปลากระเบนลาว |
4.
ปลากระเบนลาว
หรือ
ปลากระเบนแม่น้ำโขง หรือมีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "ปลาฝา" หรือ"ฝาไล" มีชื่อภาษาอังกฤษว่า
แม่โขง สริงเรย์ (Mekong
stingray) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
เดซี่อาทิส ลาวเนนซิสDasyatis
laosensis อยู่ในกลุ่มเดียวกับปลากระเบนธง
ซึ่งส่งผลให้มีรูปร่างคล้ายปลากระเบนเสือดาว
แต่ปลากระเบนชนิดนี้จะที่พบเฉพาะใน
แม่น้ำโขง พรมแดนระหว่างประเทศไทยกับลาวเท่านั้น
ส่วยของลำตัวหรือจานของปลาชนิดนี้
ด้านบนมีสีเหลือง/น้ำตาลอ่อน
ผิวค่อนข้างเรียบ ด้านล่างสีเหลืองอ่อน
โดยเฉพาะที่ขอบจาน
ส่วนหางมีริ้วหนังบาง ๆหรือ
มีรอยพับของหนัง(ตามลูกศรชี้)
ตาโต
โคนหางมีเงี่ยงแหลมมีพิษ
1
หรือ
2
ชิ้น
ที่เมื่อหลุดหรือหักไปแล้วสามารถงอกใหม่ทดแทนได้
ความกว้างของลำตัวประมาณ
40
เซนติเมตร
ใหญ่สุด 80
เซนติเมตร
น้ำหนักมากที่สุด 10
กิโลกรัม
หากินตามพื้นท้องน้ำ
อาศัยในพื้นน้ำที่เป็นทราย
อาหารที่กินได้แก่ สัตว์หน้าดิน,
ปลาขนาดเล็ก
และสัตว์มีเปลือกต่างๆ
จะว่ายขึ้นมาหากินบริเวณผิวน้ำบ้างเป็นบางครั้ง
เป็นปลากระเบนที่พบเฉพาะที่จึงมีจำนวนที่พบน้อย
แต่มีรสชาติดี
ในอดีตจึงมักถูกจับขึ้นมาทำเป็นอาหารมากแต่ปัจจุบันผู้นิยมสะสมเลี้ยงปลากระเบนจึงมีการนำปลากระเบนชนิดนี้มาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
ปลากระเบนกิตติพงษ์, ปลากระเบนทราย |
ปลากระเบนกิตติพงษ์, ปลากระเบนทราย
|
5. ปลากระเบนกิตติพงษ์,
ปลากระเบนทราย (Kittipong’s
Stingray) โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
ฮิมานทูรา กิตติพงษ์ (Himantura
kittipongi Vidthayanon & Roberts, 2005 )
ตั้งชื่อชนิดตามชื่อผู้ค้นพบ
เป็นเกียรติ์แก่ คุณกิตติพงษ์
จารุธาณินทร์
นักสำรวจปลาชาวไทยที่ค้นพบปลาชนิดนี้เป็นคนแรก
เมื่อปี พ.ศ.
2545 จากนั้นในปี
พ.ศ.
2547 ได้ศึกษา
เก็บรวบรวมข้อมูลทางอนุกรมวิธานโดย
ดร.ชวลิต
วิทยานนท์ นักวิทยาศาสตร์ชาวไทยแห่งกองทุนสัตว์ป่าโลก
และ ดร.ไทสัน
อาร์.
โรเบิร์ตส์
และได้ตั้งชื่อชนิดตามชื่อของผู้ค้นพบ
บางทีอาจจะมีการเรียกว่า
ปลากระเบนแม่กลอง
จากการศึกษาของผู้ที่เชี่ยวชาญ
พบว่า
กระเบนชนิดนี้มีมีแหล่งอาศัยหลายแห่งในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
คือ บริเวณปากแม่น้ำแม่กลองแถบจังหวัดกาญจนบุรี
แม่น้ำน่าน และแม่น้ำปาหัง
ประเทศมาเลเซีย
แต่ชาวบ้านในจังหวัดกาญจนบุรีเรียกว่า
กระเบนเหลือง
มีรูปร่างเหมือนปลากระเบนในวงศ์ปลากระเบนธง
หรือพูดอีอย่างรูปทรงเหมือนปลากระเบนราหูเจ้าพระยา
ต่างกันที่ด้านหลังจะมีสีน้ำตาลเข้มอมเหลือง
รอบวงของลำตัว หาง ช่องหายใจ
ช่องเหงือกและขอบด้านล่างของตัวเป็นสีคล้ำ
ส่วนลำตัวหรือมีความกว้างของจานมีขนาดใหญ่สุดประมาณ
60
เซนติเมตร
ส่วนละตัวหรือจานมีลักษณะค่อนข้างกลม
ที่ขอบจานมักรุ่งริ่ง
(คาดการว่าโดนปลาปักเป้าตอด)
ด้านใต้ขอบจานมักมีลายแถบสีน้ำตาลหรือเหลือง
ส่วนผิวหนังพบว่าจะขรุขระกว่าปลากระเบนขาว
มีจำนวนของฟันซึ่งมีลักษณะเป็นซี่เล็ก
ๆ บริเวณขากรรไกรล่างมีจำนวนมากถึง
14
- 15 แถว
พบ แม่น้ำใหญ่ทุกลุ่มน้ำในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
โดยแม่น้ำบริเวณนั้นมักมีลักษณะที่เป็นพื้นทราย
ปลากระเบนชนิดนี้
ล่าเหยื่อในบริเวณหน้าดิน
กินกุ้ง และ ปลาเป็นอาหาร
ชื่อไทย: ปลากระเบนกิตติพงษ์,
ปลากระเบนทราย
ชื่อสามัญ: Kittipong’s Stingrayชื่อวิทยาศาสตร์: Himantura kittipongi Vidthayanon & Roberts, 2005ขนาดเมื่อโตเต็มวัย: ความกว้างของจาน (Disc width) 60 เซนติเมตร (fishbase.org)การกระจายพันธุ์: แม่น้ำใหญ่ทุกลุ่มน้ำ
ชื่อสามัญ: Kittipong’s Stingrayชื่อวิทยาศาสตร์: Himantura kittipongi Vidthayanon & Roberts, 2005ขนาดเมื่อโตเต็มวัย: ความกว้างของจาน (Disc width) 60 เซนติเมตร (fishbase.org)การกระจายพันธุ์: แม่น้ำใหญ่ทุกลุ่มน้ำ
กระเบนขาว |
6
ปลากระเบนขาว,
กระเบนขาว โดยมีชื่อภาษาอังกฤษว่าไวท์
เอจ เฟรชพอเตอร์ สตริงเรย์
(White-edge
freshwater Stingray) และมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
ฮิมานทูรา ซิกนิเฟอร์ (
Himantura signifer Compagno & Roberts, 1982)
อยู่ในวงศ์เดียวกับปลากระเบนธง
รูปร่างหรือรูปทรงของลำตัว
(จาน)
เหมือนกับปลากระเบนราหู
พื้นลำตัวด้านบนสีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อนโดยสัจะอ่อนกว่าปลากระเบนกิตติพงษ์
กลางหลังมีเกล็ดเป็นตุ่มหยาบ
ๆ บริเวณขอบจานโดยรอบจะมีมีขอบสีขาวรอบลำตัว
จึงเป็นที่มาของชื่อปลากระเบนขาว
พื้นลำตัวด้านล่างมีสีขาวหรือชมพูอ่อน
ขนาดโดยเฉลี่ย 40
เซนติเมตร
พบใหญ่สุด 60
เซนติเมตร
ส่วนหางยาว โคนหางมีเงี่ยงแหลมมีพิษ
1
หรือ
2
ชิ้น
ที่สามารถงอกใหม่ได้เมื่อหลุดหรือหักไป
หางไม่มีริ้วหนัง
เป็นปลากระเบนชนิดหนึ่งที่มีผู้นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
หากินตามพื้นท้องน้ำโดยอาหารที่กินคือ
ปลาขนาดเล็ก,
สัตว์หน้าดิน
กุ้ง จะว่ายขึ้นมาหากินบริเวณผิวน้ำบ้างเป็นบางครั้ง
เป็นปลากระเบนน้ำจืดชนิดหนึ่งที่พบได้ง่ายสุดในประเทศไทย
โดยพบมากแถบที่ลุ่มเจ้าพระยา
เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา,
แม่น้ำแม่กลอง,
แม่น้ำบางปะกง,
แม่น้ำท่าจีน,
บึงบอระเพ็ด
และพบที่แม่น้ำตาปีในภาคใต้ด้วย
ในต่างประเทศพบได้ที่มาเลเซียและอินโดนีเซีย
ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ
ที่มาของข้อมูลและภาพ
http://fishbase.org/Summary/speciesSummary.php?ID=53761&genusname=Potamotrygon http://www.potamotrygon.eu/Bilder%2021/0409-henlei-1.jpg
http://www.siamensis.org/category/tags/marbled-whipray http://www.siamensis.org/taxonomy/term/1509/0 http://aquarticles.com/articles/breeding/Webber_David_Freshwater_Stingrays.html
http://th.wikipedia.org/wiki/ปลากระเบนกิตติพงษ์
http://th.wikipedia.org/wiki/ปลากระเบนลาว
http://www.siamensis.org/species_index#4715--Species:%20Himantura%20signifer http://www.siamensis.org/species_index#4716--Species:%20Himantura%20kittipongi http://www.pantown.com/board.php?id=2888&area=4&name=board5&topic=288&action=view http://www.ninekaow.com/scoops/?action=view&catID=0000001&pid=0000072 http://www.fishesfishing.com/talk/index.php?topic=753.10 http://www.siamensis.org/taxonomy/term/1514/0
http://th.wikipedia.org/wiki/ปลากระเบนกิตติพงษ์
http://th.wikipedia.org/wiki/ปลากระเบนลาว
http://www.siamensis.org/species_index#4715--Species:%20Himantura%20signifer http://www.siamensis.org/species_index#4716--Species:%20Himantura%20kittipongi http://www.pantown.com/board.php?id=2888&area=4&name=board5&topic=288&action=view http://www.ninekaow.com/scoops/?action=view&catID=0000001&pid=0000072 http://www.fishesfishing.com/talk/index.php?topic=753.10 http://www.siamensis.org/taxonomy/term/1514/0
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น