วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ปลาหนวดพราหมณ์


ปลาหนวดพราหมณ์


            เป็นปลาที่สวยมาก แต่ก็เป็นปลาที่บอบบางมากจะตายเร็วมากเมื่อถูกจับขึ้นมา

ปลาหนวดพราหมณ์หนวด 14 เส้น หรือ ปลาหนวดพราหมณ์น้ำจืด (อังกฤษElegant threadfin) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Polynemus multifilis อยู่ในวงศ์ปลากุเรา(Polynemidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาหนวดพราหมณ์ (P. paradiseus) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน เพียงแต่มีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า หัวมีขนาดสั้นกว่า สีพื้นลำตัวคล้ำกว่า และมีจุดดำอยู่บริเวณเหนือครีบอก
ปลาหนวดพราหมณ์ เป็น ปลาน้ำจืด อีก หนึ่งชนิด ของเมืองไทย ที่ในเวลานี้ จากการเก็บข้อมูล พบว่า จำนวน ประชากร ของปลาชนิดนี้ ตามแหล่งน้ำ ตามธรรมชาติ ต่างๆ ได้ลดจำนวนลงกว่า ในอดีต เป็นอย่างมาก สาเหตุจาก หลายสาเหตุ เช่น การเพิ่มขึ้นของบ้านเรือน ทำให้ จำวนน้ำเสีย ที่ถูกปล่อยลง แหล่งน้ำ ธรรมชาติ ปรมาณเพิ่มตามไปด้วย จากสาเหตุ ที่กล่าวมา ส่งผลให้ แหล่งน้ำสาธารณะ เกิดการเน่าเสีย ส่งผลกระทบโดยตรง ต่อ ปลาหนวดพราหมณ์
มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 30 เซนติเมตร ครีบอกที่เป็นเส้นยาวพบข้างละ 7 เส้น จึงเป็นที่มาของชื่อ พบในบริเวณที่เป็นน้ำจืดมากกว่าปลาหนวดพราหมณ์ จึงสามารถเลี้ยงให้รอดในสถานที่เลี้ยงได้มากกว่า



ปลาหนวดพราหมณ์หนวด 14 เส้น เป็นปลาที่สวยงามและมีขนาดที่ใหญ่กว่าปลาหนวดพราหมณ์ธรรมดาจึงเป็นที่นิยมในหมู่นักเลี้ยงปลาสวยงาม แต่ด้วยความที่เป็นปลาที่เลี้ยงค่อนข้างยากจึงทำให้มีอัตราการรอดที่น้อยมากทำให้มีราคาที่ค่อนข้างสูง ในต่างประเทศนิยมสั่งซื้อปลาชนิดนี้ จากประเทศไทย และ ประเทศเวียดนาม โดยราคาของปลาหนวดพราหมณ์หนวด 14 เส้น จะอยู่ที่ประมาณ 1,500 ถึง 3,000 บาท แล้วแต่ความสมบูรณ์ และขนาดของปลา ซึ่งด้วยความที่ปลาหนวดพราหมณ์หนวด 14 เส้น มีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่าปลาหนวดพราหมณ์ธรรมดา จึงทำให้มีราคาที่สูงกว่าเกือบ 2 เท่า โดยทั่วไปปลาหนวดพราหมณ์หนวด 14 เส้น อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็มและสามารถโตได้ในน้ำจืด สำหรับประเทศไทย ปลาหนวดพราหมณ์หนวด 14 เส้น กลายเป็นปลาหายากไปแล้วเพราะปลาส่วนใหญ่มาจากการจับจากธรรมชาติ ซึ่งมีจำนวนลดน้อยลงมาก ซึ่งต่อมาในปี .. 2548สถานีประมงจังหวัดพิษณุโลกสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว โดยรวบรวมพ่อแม่พันธุ์จากแม่น้ำแควน้อย



   ลักษณะทั่วไปรูปร่างภายนอกของปลาชนิดนี้จะมีทรวดทรงเหมือนปลากุเราทุกประการ แต่ปลาหนวดพราหมณ์มีขนาดเล็กกว่า ลำตัวยาวเรียว ส่วนของหัวค่อนข้างเล็ก หน้าสั้น นัยน์ตามีขนาดเล็ก ปากอยู่ทางด้านล่างของลำตัว มีฟันเล็กละเอียดอยู่บนขากรรไกรบนและล่าง ครีบหลังมี 2 อัน ครีบท้องอยู่ใต้ครีบหู ครีบหางปลายแยกเป็นแฉกลึก ครีบก้นอยู่ตรงข้ามกับครีบหลังอันที่สอง ก้านครีบหูแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนบนเหมือนครีบหูของปลาอื่น ๆ แต่ส่วนล่างแบ่งเป็นเส้น ๆ มี 7 เส้น 2 เส้นแรกมีความยาวเป็น 2 เท่าของความยาวลำตัว ส่วนปลากุเรามีก้านครีบฝอยค่อนข้างสั้น ข้างละ 4 เส้นเท่านั้น พื้นลำตัวเป็นสีเหลืองบริเวณสันหลังเป็นสีเทาหรือเขียว ไม่มีริมฝีปากบน ปลาในวงศ์นี้อาศัยอยู่ในทะเล ถิ่นอาศัยพบตามชายฝั่งทะเลทั่วไป ในแหล่งน้ำจืดพบในแม่น้ำเจ้าพระยาและท่าจีน อาหารกินแมลงและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ขนาดความยาวประมาณ 13-25 .. ประโยชน์ เนื้อปลาปรุงอาหารได้

  
    ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด พิษณุโลก จ.พิษณุโลก ได้สำรวจชนิดปลา เพื่อเป็นฐานข้อมูล ความหลากหลายชนิด ของพันธุ์ปลาน้ำจืดในแม่น้ำแควน้อย จ.พิษณุโลก ก่อนการสร้าง เขื่อนแควน้อย อันเนื่องมาจาก พระราชดำริใน องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
นายกฤษฎา ดีอินทร์ นักวิชาการประมง ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิษณุโลก เล่าให้ หลายชีวิตฟังว่า การสำรวจดังกล่าวมีจุดประสงค์ เพื่อใช้กำหนดนโยบาย เรื่องการอนุรักษ์ความหลากหลายของพันธุ์ปลาและสัตว์น้ำประจำถิ่น อีกทั้งเพื่อทดแทนและเพิ่มผลผลิต และจากการสำรวจพบว่าเมื่อสร้างเขื่อนเสร็จแล้วจะทำให้ประชาคมปลาเปลี่ยนไป อีกทั้งยังทำให้ปลาในกลุ่มต้นน้ำลำธารสูญหายไปจากบริเวณอ่างเก็บน้ำ   แต่!ไม่ได้หายไปจากระบบแม่น้ำแควน้อย โดยสัตว์น้ำที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดน่าจะเป็น ปลาหนวดพราหมณ์หนวดสิบสี่เส้นที่อพยพมาทางท้ายเขื่อน อย่างไรก็ตาม กรมประมงได้เพาะพันธุ์ ปลาชนิดนี้ ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นครั้งแรกของโลกในปีนี้ เพื่อปล่อยเสริมลงในแม่น้ำแควน้อยหลังจากการเปิดใช้เขื่อนในปี'50 


   ปลาหนวดพราหมณ์หนวดสิบสี่เส้น เป็นปลาในวงศ์กุเรา (Pisoes: Polynemidae) สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีการแพร่กระจายในแม่น้ำเขตร้อนเกือบทั่วโลก โดยในประเทศไทยมีรายงานการแพร่กระจายตั้งแต่แม่น้ำน่านในเขตจังหวัดพิษณุโลก จนถึงแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง รวมถึงแม่น้ำท่าจีนและบางปะกง 
   แหล่งที่อยู่อาศัยของปลาชนิดนี้ จะอยู่บริเวณกลางแม่น้ำที่ลึกกว่า 6 เมตร ตรงบริเวณที่พื้นท้องน้ำเป็นดินดานหรือเป็นพื้นแข็ง และมีกระแสน้ำขุ่นไหลแรงในเวลากลางวัน ส่วนกลางคืนจะเข้ามาบริเวณริมฝั่ง และจะอพยพเพื่อการผสมพันธุ์และวางไข่ในต้นแม่น้ำแควน้อย โดยจะวางไข่ในเดือนกันยายน ครั้งละ 800-900 ฟอง 
   แต่เนื่องจากปลาชนิดนี้ไข่สุกไม่พร้อมกันทั้งพู จึงต้องวางไข่ซ้ำอีกครั้งภายใน 2 สัปดาห์ อัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างสูง สามารถเป็นพ่อแม่พันธุ์ได้ภายใน 1 ปี ตัวที่โตเต็มวัยจะมีขนาดยาว 17-20 ซม.จะออกหากินในเวลากลางคืน จัดเป็นปลากินเนื้อ ชนิดอาหารที่กินจะไม่ซับซ้อน ประกอบด้วย กุ้งฝอย ตัวอ่อนแมลงปอ และแมลงชีปะขาว ซึ่งปลาชนิดนี้ชอบมากที่สุด 


   ปัจจุบันเป็นที่สนใจของกลุ่มนักเลี้ยงปลาตู้ โดยราคาซื้อขายในบ้านเราอยู่ที่ตัวละ 300-400 บาท ส่วนตลาดต่างประเทศอยู่ที่ตัวละประมาณ 1,000-1,200 บาท แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า เมื่อขึ้นจากน้ำจะใจเสาะตายง่าย ทุกวันนี้จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายกลุ่มปลาตู้.


แกงจืดปลาหนวดพราหมณ์


เครื่องปรุง
ปลาหนวดพราหมณ์ หนัก 300 กรัม
6
     ตัว
ผักชีเด็ดเป็นใบ
1
     ต้น
รากผักชีหั่น
3
     ช้อนโต๊ะ
พริกไทยดำ
25
     เม็ด
หอมแดงเจียว
6
     หัว
ซีอิ๊วขาว
3
     ช้อนโต๊ะ
น้ำ
3
     ถ้วย
น้ำมันพืชสำหรับทอด


     
หมายเหตุ  ถ้าหาซื้อปลาหนวดพราหมณ์ไม่ได้ให้ใช้ปลาแขยงแทนก็ได้ 

วิธีทำ
1.  ขอดเกล็ดปลา ตัดหนวดให้สั้น ผ่าท้อง ควักไส้ออก เคล้าเกลือ ล้างให้สะอาด ใส่ตะแกรงให้สะเด็ดน้ำ
2.  
ตั้งกระทะบนไฟกลางให้ร้อน ใส่น้ำมันพอร้อน ใส่ปลาลงทอดให้เหลือง ตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน
3.  
โขลกพริกไทยกับรากผักชีเข้าด้วยกันให้ละเอียด
4.  
ต้มน้ำให้เดือด ใส่เครื่องที่โขลก พอเดือดใส่ซีอิ๊วขาว เดือดอีกครั้งใส่ปลาทอด ลดไฟอ่อน เคี่ยวจนเนื้อปลานุ่ม ปิดไฟ
5.  
ตักใส่ชาม ใส่หอมแดงเจียว ผักชี รับประทานร้อนๆ


  
 


ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
http://www.fishesfishing.com
http://www.siamensis.org
http://www.ninekaow.com



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม