วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2555

ปลาม้า


ปลาม้า
ปลาม้า (Boeseman croaker) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boesemania microlepis ในวงศ์ปลาจวด (Sciaenidae)


                     เมืองสุพรรณบุรี สงสัยจะมีปลาม้าชุกชุม เพราะมีอำเภอ บางปลาม้า อยู่ด้วย กลับไปบ้านสุพรรณบุรี เข้าตลาดหาซื้อปลาสลิด ก็ไปเจอปลาม้า เหลือตัวสุดท้ายแล้ว ปลาม้าเป็นที่นิยมรับประทานเพราะเนื้อเยอะก้างน้อย คนที่มาจ่ายตลาดคนอื่นเห็น ก็ว่าไม่เคยตัวทั้งตัวอย่างนี้ เหมือนผมเลย เห็นแต่ตอนที่ราดพริกหรือปลาม้าสามรส ทำมาเรียบร้อยเลยถ่ายรูปมาฝากครับ เป็นปลาที่พร้อมจะลงกระทะแล้วครับ
  
   มีรูปร่างเพรียวเล็กไปทางด้านท้ายลำตัว หัวดต หน้าผากเว้าลึก ตาอยู่สูงไปทางด้านบนของหัว ปากกว้างอยู่ด้านล่างของจะงอยปาก ใต้คางมีรูเล็ก ๆ 5 รู ครีบหลังยาวตลอดส่วนหลัง ตอนหน้าเป็นก้านแข็ง
   ตอนท้ายเป็นก้านอ่อน โคนหางเรียวเล็ก ครีบก้นมีก้าสนแข็งอันใหญ่หนา ครีบอกยาว ครีบท้องมีปลายเป็นเส้นยาวเช่นเดียวกับครีบหาง เกล็ดมีความเล็กมาก
   ลำตัวสีเทาอ่อนอ่อนเหลือบเงิน ด้านหลังมีสีคล้ำ ด้านข้างลำตัวมีแถบสีคล้ำจาง ๆ เป็นแนวเฉียงหลายแถบ ด้านท้องสีจาง ครีบใส จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Boesemania
   มีความประมาณ 25-30 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1 เมตร
   อาศัยอยู่ในแม่น้ำขนาดใหญ่ และพบในแหล่งน้ำนิ่งบ้าง บ่อปลา หรือบ่อกุ้งที่อยู่ใกล้ทะเล พบมากในแม่น้ำตอนล่าง แต่ก็พบในแหล่งน้ำที่ไกลจากปากแม่น้ำมากเช่นกัน พบในภาคกลาง ภาคเหนือ และในแม่น้ำโขง



   ในภาคอีสาน โดยพบสูงสุดถึงที่จังหวัดเลย ซึ่งชื่อในภาษาอีสานเรียกว่า "ปลากวง"
พฤติกรรมมักกบดานอยู่นิ่งใต้พื้นน้ำ เมื่อว่ายน้ำจะเชื่องช้า แต่จะรอดเร็วมากเวลาไล่จับเหยื่อ ในธรรมชาติชอบอาศัยในเขตน้ำลึก กินอาหารจำพวกสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า
  ปลาม้าเป็นปลาที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัดสุพรรณบุรี จนถึงมีอำเภอชื่อ อำเภอบางปลาม้า เพราะความที่ในอดีตเคยชุกชุม เนื่องจากเป็นปลาที่มีรสชาติอร่อย เป็นที่นิยมมาก มีราคาขายที่สูง
   และเคยพบมากในบึงบอระเพ็ด แต่สถานภาพในปัจจุบันลดลงมาก อันเนื่องจากสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และการจับในปริมาณที่มาก
   ปัจจุบัน กรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้ว ซึ่งในฤดูผสมพันธุ์ สามารถส่งเสียงร้องได้เหมือนม้า จึงเป็นที่มาของชื่อ และกระเพาะของปลาม้า ขึ้นชื่อมากในการทำกระเพาะปลา
  เพราะมีกระเพาะขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถพองลมทำให้เกิดเสียงได้ นอกจากนี้แล้วกระเพาะปลาม้ายังใช้ทำเป็นยางในของรถจักรยานและทำกาวในอดีตอีกด้วย แต่ปลาม้าเป็นปลาที่ตายง่ายมากเมื่อจับพ้นจากน้ำ นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามอีกด้วย

                                 ต้มยำปลาม้า ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากโดยธรรมชาติในปลาจะมีโปรตีนและไขมันอยู่ ปลาที่มีไขมันมากก็จะยิ่งมีกลิ่นคาวมาก โปรตีนในปลาจะละลายออกมาเมื่อถูกน้ำอุ่นและทำให้เกิดกลิ่นคาว การป้องกันกลิ่นคาวของปลาให้หมดไป ทำได้โดย ต้องต้มน้ำซุปให้เดือดพล่านก่อนใส่ปลาลงไป รวมทั้งเมื่อใส่เนื้อปลาลงไปแล้ว ไม่ควรเขี่ยหรือคนเนื้อปลา จนกว่าเนื้อปลาจะสุกเสียก่อน เพียงเท่านี้กลิ่นคาวก็จะไม่หลงเหลืออีกต่อไป








ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทควม

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สิริสวัสดิ์อาทิตยวาร เปรมปรีดิ์มานกมลสรวล

http://www.gotoknow.org
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=460660



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม