เป็นปลาน้ำจืดที่มีรูปร่างคล้ายปลา กรายแต่มีขนาดเล็กกว่า ไม่มีจุดสีดำที่ครีบก้น ลำตัวมีสีขาวปนเทา ครีบหลังและครีบอกมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก ครีบก้นและครีบหางเชื่อมติดกันเป็นแผ่นเดียว โดยทั่วไปมีขนาดความยาว 15 - 20 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดเท่าเคยพบมีความยาวถึง 30 เซนติเมตร พบในแม่น้ำคลองทั่วไปของทุกภาคของไทย อาหารได้แก่ ลูกปลา ลูกกุ้ง ขี้อาย ตื่นตกใจง่าย ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ และหลบพักตามตอไม้หรือซอกหิน ไม่ชอบแสงสว่างมาก ออกหากินในเวลากลางคืน โดยชอบผุดขึ้นมาฮุบอากาศทำเสียงที่ผิวน้ำและม้วนตัวกลับให้เห็นด้านข้างขาว คล้ายสีเงิน
ปลาสลาด
ปลาฉลาด ปลาตอง
ปลาวาง เป็น ปลาน้ำจืด อีกสายพันธ์
ของเมืองไทย ซึ่งตอนนี้
จากการสำรวจ พบว่า จำนวน
ประชากร ของปลาชนิดนี้
ตามแหล่งน้ำสาธารณะ
ต่างๆได้ลดลงจากในอดีตเป็นอย่างมาก
เนื่องด้วยสาเหตุ
หลายอย่าง เช่น การเพิ่มขึ้นของบ้านเรือน
ทำให้ ของเสีย ที่ถูกปล่อยลง
แหล่งน้ำ ธรรมชาติ ปริมาณเพิ่มตามไปด้วย
จากสาเหตุ ที่กล่าวมา ทำให้
ห้วย หนอง คลอง บึง เกิดการเน่าเสีย
ส่งผลกระทบโดยตรง ต่อ ปลาสลาด
ปลาฉลาด ปลาตอง ปลาวาง
ลักษณะทั่วไป เป็นปลาน้ำจืดซึ่งมีรูปร่างเหมือนปลากราย แต่มีขนาดเล็กกว่า ลักษณะแตกต่างที่เด่นชัดคือ ปลาสลาดไม่มีจุดสีดำเหนือครีบก้นเหมือนอย่างปลากราย ปลาสลาดมีลำตัวเป็นสีขาวเงินปนเทาครีบหลังและครีบอกมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบท้องมีขนาดเล็กมากครีบก้นและครีบหางเชื่อมติดกันเป็นแผ่นเดียวกัน ถิ่นอาศัยพบตามแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึงและอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นที่พบ เช่น ภาคเหนือเรียกหางแพน แต่ชาวแม่ฮ่องสอนเรียกว่า ปลาวาง ภาคอีสานมีชื่อเรียกว่าปลาตอง อาหารกินลูกกุ้ง ลูกปลาและแมลงน้ำ ขนาด ความยาวประมาณ 15-20 ซ.ม. ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่พบมีความยาวถึง 30 ซ.ม. ประโยชน์ เนื้อปลาใช้ปรุงอาหาร หรือนำมาแปรรูปเป็นปลารมควัน
ปลาสลาด ปลาฉลาด ปลาตอง ปลาวาง มี ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
GREY FEATHER BACK Notopterus notopterus
ชื่อไทย | สลาด ฉลาด ตอง หางแพน วาง |
ชื่อสามัญ | GREY FEATHER BACK |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Notopterus notopterus |
ถิ่นอาศัย | พบตามแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึงและอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและสะอาด มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ๆ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นที่พบ เช่น ภาคเหนือเรียก “หางแพน” แต่ชาวแม่ฮ่องสอนเรียกว่า “ปลาวาง” ภาคอีสานมีชื่อว่า “ปลาตอง” |
ลักษณะทั่วไป | เป็นปลาน้ำจืดซึ่งมีรูปร่างเหมือนปลากรายแต่มีขนาดเล็กกว่า ลักษณะแตกต่างที่เด่นชัด คือ ปลาสลาดไม่มีจุดสีดำเหนือครีบก้นเหมือนอย่างปลากราย ปลาสลาดมีลำตัวเป็นสีขาวเงินปนเทา ปากกว้างไม่เกินขอบหลังของลูกตา ครีบหลังและครีบอกมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก ครีบก้นและครีบหางเชื่อมติดกันเป็นแผ่นเดียวกัน |
การสืบพันธุ์ | - |
อาหารธรรมชาติ | กินลูกกุ้ง ลูกปลาและแมลงน้ำ |
สถานภาพ | เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ |
ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
กรมประมง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น