ปลากระดี่หม้อ
ชื่ออังกฤษ Blue gourami, Three-spot gourami
ชื่อไทย ภาคกลางเรียกกระดี่ กระดี่หม้อ ภาคเหนือเรียก สลาก สลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียก กระเดิด
ประวัติถิ่นที่อยู่อาศัย พบตามแหล่งน้ำทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ต่างประเทศมีชุกชุมในแถบอินโดจีน
รูปร่างลักษณะ เป็นปลาลำตัวแบนด้านข้าง จัดอยู่ในครอบครัวปลาสลิด ลักษณะลำตัวก็คล้ายคลึงกัน แต่มีขนาดเล็กกว่า ลำตัวมีสีเทาอ่อน มีแถบดำพาดเฉียง ตลอดลำตัว ด้านข้างตัวมีจุดสีดำขนาดใหญ่ 2 จุด ตรงกึ่งกลางลำตัว 1 จุด โคนหางอีก 1 จุด กระดี่หม้อตัวผู้จะมีสีเข้มจัดกว่าตัวเมีย ครีบหลังของปลาตัวผู้จะยาวจดโคนหางหรือพ้นโคนหาง ส่วนครีบหลังของตัวเมียจะไม่ยาวถึงโคนหาง ขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 10-12 ซม.
มีรูปร่างคล้ายปลากระดี่นาง (T. microlepis) ซึ่วเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่กระดี่หม้อมีรูปร่างป้อมกว่า ส่วนท้ายไม่เรียวเล็ก หัวเล็ก ตาเล็ก ปากเล็กอยู่ปลายสุดของจะงอยปาก ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย ส่วนหลังยกสูงเล็กน้อย ครีบอกเล็ก ครีบท้องเป็นเส้นยาว ครีบหางเว้าตื้นปลายใน เกล็ดมีขนาดใหญ่ ตัวมีสีเทาอมสีฟ้าหรือสีคล้ำตามแนวพาดขวางหรือพาดเฉียง ตลอดลำตัวด้านข้างหลายแถบรวมถึงที่ข้างแก้มกลางลำตัวด้านข้างและโคนครีบหางมีจุดสีดำขนาดใหญ่แห่งละจุด ครีบก้นมีจุดประสีส้มหรือเหลือง ขอบครีบสีเหลือง ครีบอื่นสีใส ครีบหางใสมีสีประคล้ำ
ขนาดโดยเฉลี่ยมีความยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร พบใหญ่สุดคือ 15 เซนติเมตร
ปลากระดี่หม้อเป็นปลาที่มีสีสันต่างตากหลากหลายกันออกไปตามพันธุกรรมและถิ่นที่อยู่อาศัย จึงมีหลากสีมาก เช่น ปลาที่พบในพื้นที่ภาคใต้จะมีลำตัวสีฟ้าเข้มกว่าปลาที่พบในที่อื่น นอกจากนี้ยังมีที่พบสีออกเหลืองทองหรือออกขาวนวลด้วย แต่ปลาที่พบโดยทั่วไปมักมีลำตัวออกสีน้ำตาลใส
เป็นปลาที่พบได้ในแหล่งน้ำนิ่งทุกภาคของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้ จัดเป็นปลาสกุล Trichogaster ที่พบชุกชุมที่สุด
นิยมบริโภคในท้องถิ่น เช่นเดียวกับปลาสลิด (T. pectoralis) และปลากระดี่นาง นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย
มีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "กระเดิด" หรือ "เดิด" ภาษาเหนือเรียก "สลาก" หรือ "สลาง" ชื่อในภาษาอังกฤษเรียกว่า "กระดี่สามจุด" (Three spot gourami) หมายถึง จุดดำสองจุดใหญ่ตามลำตัวและนับลูกตาด้วย ชื่อที่นิยมเรียกกันในแวดวงปลาสวยงามคือ "กระดี่นางฟ้า"
อุปนิสัย กระดี่หม้อเป็นปลาพื้นบ้านของไทย รู้จักกันมานานแล้ว ชาวบ้านนิยมจับขึ้นมาทำเป็นอาหาร ปลาชนิดนี้มีอยู่แพร่หลายตามท้องนา คู คลอง หนอง บึง ส่วนมากชอบอาศัยอยู่ในน้ำนิ่งตามกอหญ้าและพันธุ์ไม้น้ำ ชอบน้ำไม่ลึกนัก และก่อหวอดวางไข่
การเลี้ยงดู ผู้ที่ไม่มีเวลาสำหรับการดูแลมากนัก เหมาะที่จะเลี้ยงปลาชนิดนี้เป็นอย่างยิ่ง ปลากระดี่หม้อ มีความงดงามเป็นธรรมชาติมี ความทนทานอย่างยิ่ง แอร์ปั้มแทบไม่มีความจำเป็นเพราะมีอวัยวะช่วยหายใจพิเศษนอกเหนือจากการใช้เหงือก อาหารที่ใช้เลี้ยงได้แก่ รำละเอียด ลูกน้ำ ไรแดง หนอนแดง ไส้เดือน เป็นต้น และสามารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่นๆ ได้อีกด้วย
ชื่อท้องถิ่น: | ปลากระดี่หม้อ |
ชื่อสามัญ: | ปลากระดี่ |
ชื่อวิทยาศาสตร์: | Trichogaster trichopterus |
ชื่อวงศ์: | Osphronemidae |
ประเภทสัตว์: | สัตว์น้ำ |
ลักษณะสัตว์: | ปลากระดี่หม้อเป็นปลาที่มีสีสันต่างตากหลากหลายกันออกไปตามพันธุกรรมและถิ่นที่อยู่อาศัย จึงมีหลากสีมาก เช่น ปลาที่พบในพื้นที่ภาคใต้จะมีลำตัวสีฟ้าเข้มกว่าปลาที่พบในที่อื่น นอกจากนี้ยังมีที่พบสีออกเหลืองทองหรือออกขาวนวลด้วย แต่ปลาที่พบโดยทั่วไปมักมีลำตัวออกสีน้ำตาลใ |
ปริมาณที่พบ: | ปานกลาง |
การใช้ประโยชน์: | อื่นๆ |
อธิบายวิธีการใช้ประโยชน์: | มีรูปร่างคล้ายปลากระดี่นาง (T. microlepis) ซึ่วเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่กระดี่หม้อมีรูปร่างป้อมกว่า ส่วนท้ายไม่เรียวเล็ก หัวเล็ก ตาเล็ก ปากเล็กอยู่ปลายสุดของจะงอยปาก ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย ส่วนหลังยกสูงเล็กน้อย ครีบอกเล็ก ครีบท้องเป็นเส้นยาว ครีบหางเว้าตื้นปลายใน เกล็ดมีขนาดใหญ่ ตัวมีสีเทาอมสีฟ้าหรือสีคล้ำตามแนวพาดขวางหรือพาดเฉียง ตลอดลำตัวด้านข้างหลายแถบรวมถึงที่ข้างแก้มกลางลำตัวด้านข้างและโคนครีบหางมีจุดสีดำขนาดใหญ่แห่งละจุด ครีบก้นมีจุดประสีส้มหรือเหลือง ขอบครีบสีเหลือง ครีบอื่นสีใส ครีบหางใสมีสีประคล้ำขนาดโดยเฉลี่ยมีความยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร พบใหญ่สุดคือ 15 เซนติเม |
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น