วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ปลาหมอ


ปลาหมอไทย (Climbing perch)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Anabas testudineus (Bloch)
ปลาหมอ เป็นปลาที่รู้จักและนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย ทั่วทุกภาคของ ประเทศไทยเนื่องจากปลาที่มีรสชาติ เป็นปลาที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและ ต่างประเทศ ในขณะที่ผลผลิตปลาหมอไทยส่วนใหญ่ได้มาจากการทำประมง จากแหล่งน้ำ ธรรมชาติ ปัจจุบันมีเกษตรกรเลี้ยงปลาหมอไทยเป็นอาชีพกันมากขึ้น โดยเฉพาะใน พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
   ปลาหมอ ปลาน้ำจืดพันธุ์พื้นเมืองของไทยแต่โบราณที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำ ธรรมชาติ ทั้งตามคู คลอง ท้องนา และแม่น้ำลำคลอง   ปลาหมอนิยมกินกันมากแทบ ทุกภาค เพราะเนื้อปลามีรสหวานมันอร่อย แต่ละท้องถิ่นก็เรียกชื่อต่างกัน ไป  ภาคอีสานจะเรียกว่า “ปลาแข็ง”  ภาคเหนือ เรียกว่า “ปลาสะเด็ด”  ภาคใต้ ตอนล่างเรียกเป็นภาษายาวีว่า “อีแกปูยู”  แต่คนทั่วไปรู้จักและเรียกกัน ว่า “ปลาหมอ”
ปลาหมอเป็นปลาที่มีลำตัวยาวแบน เมื่อโตเต็มที่มีขนาดไม่ใหญ่ มาก ลำตัวกว้างสักสามนิ้วมือเรา  ยาวประมาณ 10-15 ซม.  มีเกล็ดสีน้ำตาล ดำ  ท้องมีสีเหลืองอ่อน  ครีบหางมีจุดดำ  เป็นปลาที่ทนต่อสภาพแวดล้อม ต่างๆได้ดี  เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษที่ช่วยในการหายใจ ชอบปีนป่ายขึ้นมายาก ฝนตก ว่ายทวนน้ำเพื่อไปหาอาหาร และชอบขึ้นมาพ่นน้ำปุดๆ เมื่อน้ำนิ่ง จึงทำ ให้มันติดเบ็ดได้ง่ายดายกว่าปลาอื่นๆ จนนำมาเป็นสำนวนไทยที่ว่า “ปลาหมอตาย เพราะปาก” ซึ่งแปลว่าคนที่พูดพล่อยๆจนเป็นอันตรายแก่ตนเอง




   ปลาหมอไทย เนื้อปลาจะหวานมันเป็นพิเศษ ในช่วงเริ่มเก็บเกี่ยว ข้าวใหม่ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนกุมภาพันธุ์ ในตลาดสดขายประมาณ กิโลกรัมละ 40-50 บาท แล้วแต่ขนาดตัวปลาและแหล่งที่ขาย ถ้าเป็นตามต่าง จังหวัดก็ถูกหน่อย และหาซื้อกินได้ง่าย แต่ในกรุงเทพจะเห็นมีเป็นบางตลาด เท่านั้น อย่างตลาดสะพานสูงตรงบางซื่อ ที่แม่ค้าจากจังหวัดนครปฐม และ อยุธยา รับปลามาขาย ตลาดสะพานสอง ก็มีเป็นบางวัน
   วิธีการกินปลาหมอแบบที่อร่อยและทำง่าย กินกันมานมนานแต่โบราณก็ คือเพียงเอามาปิ้ง มาย่างทั้งเกล็ด ด้วยเตาถ่าน ใช้ไฟอ่อนๆ ไม่นานเกินรอ ก็ ได้กินปลาหมอย่างร้อนๆ กินทั้งเนื้อทั้งเกล็ดก็ยิ่งอร่อย แต่อย่ากินเพลินจน ก้างติดคอ เพราะปลาหมอไทยมีก้างเยอะพอๆ กับปลาตะเพียนเลยทีเดียว  หรือเอา ปลาหมอไปทำกับข้าวจานเด็ดอย่าง ฉู่ฉี่ปลาหมอ  แกงส้มปลาหมอ  ต้มส้มปลา หมอ  หรือจะบั้งถี่ๆ ทอดกรอบกินทั้งเนื้อ ทั้งก้าง ก็อร่อยไปอีกแบบ


แหล่งที่อยู่อาศัย
ปลาหมอไทย อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วๆไป ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ปลาหมอไทย สามารถปรับตัวเจริญเติบโตเข้ากับสภาพแวดล้อม
ที่เป็นน้ำกร่อยที่มีความเค็มไม่เกิน 7 ส่วนในพันได้ เป็นปลาที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ
ปลาหมอไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นเช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า ปลาสะเด็ด ภาคเหนือ เรียกว่า ปลาแข็ง และภาคใต้
เรียกชื่อเป็นภาษายาวีว่า อีแกปูยู ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ปลาหมอ


รูปร่างลักษณะภายนอก
ปลาหมอไทยมีลำตัวค่อนข้างแบนลำตัวมีสีน้ำตาลดำ หรือคล้ำ ส่วนท้องมีสีขาวหรือเหลืองอ่อนส่วนลำตัวมีเกล็ดแข็ง กระพุ้งแก้มมีลักษณะเป็นหนามหยัก แหลมคม ใช้ในการปีนป่าย บริเวณโคนหางมีจุดกลมสีดำ


                                         ปลาหมอโค้ว  
ลักษณะความแตกต่างระหว่างเพศ
ปลาหมอไทยเพศเมียจะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากกว่า เพศผู้ เพศผู้มีลักษณะลำตัวเรียวยาว ในระยะฤดูวางไข่ส่วนท้องของปลาเพศเมียจะอูมเป่ง


การเลือกสถานที่เลี้ยงปลาหมอ
การเลือกสถานที่ เลี้ยง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้การเลี้ยงปลาหมอไทยประสบความสำเร็จหรือ ไม่ ดังนั้นการเลือกสถานที่เลี้ยงและการออกแบบบ่อเลี้ยปลา ควรทำด้วยความ รอบคอบโดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้


1. ลักษณะดิน
ควรเป็นดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทราย น้ำไม่รั่วซึม สามารถเก็บกักน้ำได้ 4-6 เดือน ไม่ควรเลือกพื้นที่ที่เป็นดินทรายหรือดินปนกรวด
2. ลักษณะน้ำ
พื้นที่เลี้ยงควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ที่มีน้ำตลอดปี หรืออยู่ในเขตชลประทาน หากเป็นพื้นที่ที่อาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ควรพิจารณาปริมาณน้ำฝนที่ตกในรอบปีด้วย
3. แหล่งพันธุ์ปลา
เพื่อความสะดวกในการลำเลียงปลามาเลี้ยง พื้นที่เลี้ยงไม่ควรอยู่ห่างไกลจากแหล่งปลา
4. ตลาด
แม้ว่าหลังจากจับปลาขายจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงปากบ่อ แต่หากพื้นที่เลี้ยงอยุ่ใกล้ตลาด จะทำให้ได้เปรียบในการขนส่งผลผลิตเพื่อการจำหน่าย อย่างไรก็ตาม บ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำที่อยู่ในเขตพื้นที่น้ำจืด สามารถนำมาใช้เป็นบ่อเลี้ยงปลาหมอไทยได้


การเตรียมบ่อเลี้ยง
การเตรียมบ่อเลี้ยงเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ซึ่งจะส่งผลต่อผลิตที่จะได้รับ ขั้นตอนการเตรียมบ่อก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงสามารถทำได้ ดังนี้


1. สูบน้ำออกจากบ่อให้แห้ง
การสูบน้ำจากบ่อให้แห้งจะช่วยกำจัดศัตรูปลาที่มีอยู่ในบ่อ หลังจากการสูบบ่อแห้งแล้วหว่านปูนขาวในขณะที่ดินยังเปียก ในอัตรา 60-100 กิโลกรัมต่อไร่เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน
2. กำจัดวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำ
วัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำที่มีอยู่ในบ่อ จะเป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของศัตรูปลาหมอไทยเช่น ปลาช่อน กบ และงู เป็นต้น และทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำลดลง เนื่องจากวัชพืชน้ำใช้ออกซิเจนในการหายใจเช่นเดียวกับปลา นอกจากนี้ การที่มีพืชอยู่ในบ่อมาก จะเป็นอุปสรรคต่อการให้อาหาร และการวิดจับปลา




3. การตากบ่อ
การตากบ่อจะททำให้แก๊สพิษในดินบางชนิดสลายตัวไป เมื่อถูกความร้อนและแสงแดด ทั้งยังเป็นการฆ่าเชื้อโรค และศัตรูปลาที่ฝังตัวอยู่ในดิน ใช้เวลาในการตากบ่อ 2-3 สัปดาห์
4. สูบน้ำเข้าบ่อ
สูบน้ำใส่บ่อให้ได้ระดับ 60-100 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 2-3 วัน ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง แต่ก่อนที่เราจะปล่อยปลาลงเลี้ยง ต้องใช้อวนไนล่อนสีฟ้ากั้นรอบบ่อให้สูงจากพื้นประมาณ 90 เซนติเมตร เพื่อป้องกันปลาหลบหนีออกจากบ่อ เนื่องจากปลาหมอไทยมีนิสัยชอบปีนป่าย
5. การปล่อยปลาลงเลี้ยง
การปล่อยพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ให้วางไข่ในบ่อ วิธีนี้จะช่วยลดปัญหาเรื่องลูกปลาตายในระหว่างการลำเลียงได้ โดยการคัดเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่มีไข่และน้ำเชื้อสมบูรณ์ พร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่ คือตัวเมียจะมีส่วนท้องที่อูม มีไข่สีเหลือง ส่วนตัวผู้ที่ท้องจะมีเชื้อสีขาว คล้ายน้ำนม เมื่อคัดพ่อแม่พันธุ์ปลาได้แล้ว จะฉีดฮอร์โมนเร่งการวางไข่ให้กับตัวเมียในอัตราเข้มข้นฮอร์โมนสังเคราะห์ 10 ไมโครกรัม และยาเสริม 5 มิลลิกรัม ต่อปลา 1 กิโลกรัม แล้วปล่อยให้วางไข่ในกระชังตาห่างซึ่งแขวนอยู่ในบ่อที่มีระดับน้ำไม่น้อย กว่า 50 เซนติเมตร เมื่อวางไข่หมดแล้วจึงนำกระชังพ่อแม่พันธุ์ขึ้น ปล่อยให้ไข่ฟักเป็นตัว หลังจากลูกปลาฟักออกเป็นตัว ประมาณ 4 วัน จึงเริ่มให้อาหารสำเร็จรูปชนิดผง เป็นระยะเวลา 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นปลาสดสับละเอียด และเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ด เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น


การเลี้ยงและการให้อาหารปลาหมอ
ปลาหมอไทยเป็น ปลาที่กินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ในการเลี้ยงจึงให้อาหารเม็ดปลาดุก ใน อัตรา 3-5 % ของน้ำหนักตัว วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น โดยในช่วงแรกของการ เลี้ยงจะใช้อาหารเม็ดปลาดุกขนาดเล็กหรือปาสดสับละเอียด เป็น เวลา 2 เดือน และถัดมาเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดปลาดุกขนาดใหญ่ เมื่อปลามีขนาด ใหย๋ขึ้น การให้อาหารต้องหว่านให้ทั่วบ่อ และต้องสังเกตการกินอาหารของปลา ด้วย ถ้ามีอาหารเหลือมากเกินไป ควรลดอาหารในมื้อถัดไปให้น้อยลง เพราะอาจทำ ให้น้ำในบ่อเน่าเสียได้


                                          ปลาหมอม้าลาย


อาหารและการให้อาหาร
การเปลี่ยนถ่ายน้ำ
การเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ จะทำให้ปลามีการกินอาหารดีขึ้น ส่งผลให้ปลาเจริญเติบโตดี ทั้งนี้ก่อนเปลี่ยนน้ำทำทุกครั้ง ต้องแน่ใจว่า คุณภาพน้ำที่สูบเข้ามาใหม่ไม่แตกต่างกับคุณภาพน้ำในบ่อมากนัก ในช่วงเดือนแรก ไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ แต่จะใช้วิธีเพิ่มระดับน้ำทุกสัปดาห์ หลังจากเดือนแรกแล้ว จึงเปลี่ยนถ่ายน้ำเดือนละ 2-3 ครั้ง โดยเปลี่ยนถ่ายน้ำครั้งละ 1 ใน 3 ของน้ำในบ่อ หรือขึ้นอยู่กับสภาพคุณภาพน้ำในบ่อด้วย


ระยะเวลาการเลี้ยงและการจับ
ระยะเวลาการเลี้ยงขึ้นอยู่กับขนาดปลาของปลาที่ตลาดต้องการ แต่โดยทั่วไป จะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4-5 เดือน การจับปลาหมอไทย โดยทั่วไปจะใช้วิธีการจับแบบวิดบ่อแห้ง โดยก่อนจับปลาจะต้องสูบน้ำออกจากบ่อให้เหลือน้อยแล้วจึงตีอวนจับปลา โดยลากอวนจากขอบบ่อด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง แล้วจึงยกอวนขึ้น ใช้สวิงจับใส่ตะกร้าเพื่อคัดขนาด จนกระทั่งเหลือปลาจำนวนน้อยจึงสูบน้ำออกจากบ่อให้หมด หลังจากนั้นจึงตากบ่อให้แห้ง เพื่อเตรียมบ่อใช้เลี้ยงปลาในรุ่นต่อไป


ในการจำหน่ายปลาหมอไทย แบ่งออกเป็น 3 ขนาด ดังนี้
1. ปลาขนาดใหญ่ ขนาด 6-10 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 55-60 บาท
2. ปลาขนาดกลาง ขนาด 7-20 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 25-30 บาท
3. ปลาขนาดเล็ก ขนาดมากกว่า 20 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 15-20 บาท


**** หมายเหตุราคาการขายปลาขึ้นอญุ่กับแต่ละพื้นที่และฤดูในการจับปลา****


วิธีปฏิบัติและข้อควรระวังในการใช้ยาและสารเคมีในการเลี้ยงปลาหมอ
การใช้ยาและสารเคมีทุกชนิดควรใช้ด้วยความระมัดระวัง และมีสิ่งควรปฏิบัติ ดังนี้
1. ก่อนใช้ยาและสารเคมีทุกชนิด ควรอ่านวิธีใช้ให้ละเอียด เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น
2. ควรสวมถุงมือและใส่หน้ากากกันฝุ่นขณะใช้ยา
3. เมื่อใช้ยาและสารเคมีแล้ว ควรชำระร่างกายให้สะอาดทุกครั้ง
4. กรณีที่ใช้ยาผิดขนากกับสัตว์น้ำโดยใช้วิธีแช่ ควรถ่ายน้ำทันที ส่วนวิธีผสมอาหารควรตรวจสอบให้รอบคอบก่อนใช้


การใช้ยาและข้อควรระวัง
1. ฟอร์มาลิน ควรใช้ในบ่อน้ำที่ไม่เขียวจัด และควรใส่ในตอนเช้า เนื่องจากฟอร์มาลินจะทำให้พืชน้ำสีเขียวขนาดเล็กตาย และอาจทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน ทำให้ปลาตายได้
2. เกลือ การใช้เกลือจะ ต้องระวังเกี่ยวกับความเค็มที่เพิ่มขึ้นอย่างทันที ปลาอาจปรับตัวไม่ทัน โดยให้แบ่งเกลือที่คำนวณได้แล้วออกเป็น 3 ส่วน และใส่ส่วนแรกลงไป เพื่อรอดูอาการปลาประมาณ 1 ชั่วโมง จึงใส่ส่วนที่ 2 และ 3 ต่อไป




การคำนวณใส่ยาเพื่อใส่ในบ่อ
วัดขนาดความกว้าง ความยาวของบ่อ และระดับความลึกของน้ำในบ่อ (หน่วยเป็นเมตร) แล้วคำนวณปริมาณยาที่จะใช้ เช่น บ่อมีความกว้าง 40 เมตร ยาว 40 เมตร ระดับน้ำลึก 1.50 เมตร


ปริมาตรน้ำ = กว้าง x ยาว x ความลึกของน้ำ
= 40 x 40 x 1.50 เมตร
= 2400 ลูกบาศก์เมตร
ดังนั้น ถ้าต้องการใช้ฟอร์มาลิน ความเข้มข้น 25 พีพีเอ็ม ในการรักษาโรคจะต้องใช้ 25 x 2400 = 60000 ซีซี หรือประมาณ 60 ลิตร


โรคและการป้องกัน
โดยทั่วไป โรคปลาหมอไทยมักแพร่ระบาดในฤดูฝน ในทางปฏิบัติ เกษตรกรควรใช้เกลือเม็ดหว่าน ลงในบ่ออัตรา 80 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับการใช้ปูนขาว อัตรา 20 กิโลกรัมต่อ ไร่ ละลายในน้ำแล้วสาดให้ทั่วบ่อ อย่างไรก็ตาม โรคที่เกิดขึ้นในบ่อเลี้ยง ปลาหมอไทยมักเกิดจากปรสิตภายนอก เชื้อรา และแบคทีเรีย ต่อไปนี้


โรคต่างๆในปลาหมอ
โรคจุดขาว
อาการ ปลาจะมีจุดสีขาวขุ่นขนาดเท่าหัวเข็มหมุด กระจายอยู่ตามลำตัวและครีบ
สาเหตุ เกิดจากเชื้อโปรโตซัว ที่กินเซลล์ผิวหนัง
การป้องกันและรักษา เนื่องจากปรสิต ชนิดนี้จะฝังตัวอยู่ใต้ผิวหนัง การกำจัดได้ผลไม่เต็มที่ วิธีที่ดีที่สุด คือการทำลายตัวอ่อนในน้ำ หรือทำลายตัวแก่ขณะว่ายน้ำอิสระ โดยการใช้ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซีต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง และแยกปลาที่เป็นโรคออกจากบ่อ




โรคจากเห็บระฆัง
อาการ ปลาจะเป็นแผลตามผิวหนังและเหงือก
สาเหตุ เกิดจากเห็บระฆังเข้าไปเกาะตามลำตัวและเหงือก
การป้องกันและรักษา ปรสิตชนิดนี้จะ แพร่ได้รวดเร็ว และทำให้ปลาตายได้ในระยะเวลาอันสั้น และมีการติดต่อระหว่างบ่อที่ใช้อุปกรณ์ร่วมกัน การกำจัดทำได้โดยใช้ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซี
ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง


โรคตกเลือดตามซอกเกล็ด
อาการ ปลาจะมีแผลสีแดงเป็นจ้ำๆ ตามลำตัวโดยเฉพาะที่ครีบและซอกเกล็ด ถ้าเป็นแผลเรื้อรังอาจมีอาการเกล็ดหลุด บริเวณรอบๆ และด้านบนของแผลจะมีส่วนคล้ายสำลีสีน้ำตาลปนเหลืองติดอยู่
สาเหตุ เกิดจากปรสิตเซลล์เดียวที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือกระจุก
การป้องกันและรักษา
1. ใช้เกลือเม็ด 5-10 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ไว้ 48 ชั่วโมง
2. ใช้ฟอร์มาลิน 25-40 ซีซี ต่อน้ำ 1000 ลิตร หลังจากแช่ยาแล้ว ถ้าปลามีอาการไม่ดีขึ้น ควรเปลี่ยนน้ำแล้วพักไว้ 1 วัน จากนั้นจึงใส่ยาซ้ำอีก 1-2 ครั้ง


โรคจากเชื้อรา
อาการ ปลาจะมีแผลเป็นปุยขาวๆ ปนเทา คล้ายสำลีปกคลุมอยู่
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา
การป้องกันและรักษา
1. ใช้มาลาไคท์กรีน 0.1-0.15 กรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ 24 ชั่วโมง
2. ใช้ปูนขาว 20 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อปรับคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยง




ตระกูลปลาหมอปลาในตระกูลปลาหมอ


ปลาหมอไทย
ชื่อสามัญ Climbing perch
ชื่อวิทยาศาสตร์ Anabas testudineus
ชื่อไทย ปลาหมอ เข็ง สะเด็ด อีแกบูยู
ปลาหมอ ปลาน้ำจืดพันธุ์พื้นเมืองของไทยแต่โบราณ เป็นปลาที่รู้จักและนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศไทย อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วๆไป เป็นปลาที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษช่วยหายใจ(labyrinth organ)อยู่ในช่องเหงือกใต้ลูกตา จึงสามารถอยู่บนบกได้นาน ชอบปีนป่ายขึ้นมายามฝนตก ว่ายทวนน้ำเพื่อไปหาอาหาร และชอบขึ้นมาพ่นน้ำปุดๆ เมื่อน้ำนิ่ง จึงทำให้มันติดเบ็ดได้ง่ายดายกว่าปลาอื่นๆ จนนำมาเป็นสำนวนไทยที่ว่า “ปลาหมอตายเพราะปาก” ซึ่งแปลว่าคนที่พูดพล่อยๆ จนเป็นอันตรายแก่ตนเองปลาหมอสามารถปรับตัวเจริญเติบโตเข้ากับสภาพแวดล้อมที่ เป็นน้ำกร่อยที่มีความเค็มไม่เกิน 7 ส่วนในพันได้ ปลาหมอไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า ปลาเข็ง ภาคเหนือเรียกว่า สะเด็ด ภาคใต้ตอนล่างเรียกชื่อเป็นภาษายาวีว่า อีแกบูยู ชาวบ้านทั่วๆไปเรียกว่า ปลาหมอ พบมากในแถบจีนตอนใต้ อินโดจีน ไทย มลายู พม่า อินเดีย ศรีลังกา ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย
รูปร่างลักษณะภายนอก
ปลาหมอไทยมีลำตัวค่อนข้างแบนลำตัวมีสีน้ำตาลดำหรือคล้ำ ส่วนท้องมีสีขาวหรือเหลืองอ่อน ลักษณะเด่นคือ มีเกล็ดแข็งห่อหุ้มตัวโดยตลอด ดวงตากลมโต ปากแยงขึ้นเล็กน้อย กระพุ้งแก้มมีลักษณะเป็นหนามหยักแหลมคมใช้ในการปีนป่าย บริเวณโคนหางมีจุดกลมสีดำ ฟันค่อนข้างแหลมคม เมื่อโตเต็มที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก ลำตัวกว้างสักสามนิ้วมือเรา ยาวประมาณ 10-15 ซม
ลักษณะความแตกต่างระหว่างเพศ
ปลาหมอไทยเพศเมียจะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากกว่า เพศผู้ เพศผู้มีลักษณะลำตัวเรียวยาว ในระยะฤดูวางไข่ส่วนท้องของปลาเพศเมียจะอูมเป่งปลาหมอเป็นปลาที่กินสัตว์น้ำ ที่มีขนาดเล็กกว่า ชอบกินอาหารที่ผิวน้ำและกลางน้ำ และยังสามารถกิน เมล็ดข้าว ธัญพืช ปลวก ตัวอ่อนแมลงน้ำ ตั๊กแตน กุ้งฝอยหรือลูกปลาเล็กปลาน้อยที่มีชีวิตหรือตายเป็นอาหาร
ปลาหมอไทย เนื้อปลาจะหวานมันเป็นพิเศษ ในช่วงเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวใหม่ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนกุมภา พันธุ์
                                          ปลาหมอตาล
ปลาหมอตาล
ชื่อวิทยาศาสตร์ Helostroma temmincki
ชื่อสามัญ Temminck’s kissing
ชื่อไทย ปลาหมอตาล อีตาล ใบตาล วี ปลาจูบ

                                         ปลาหมอตาล
อุปนิสัย
สามารถผุดขึ้นมาอุบอากาศเหนือผิวน้ำโดยตรงนอกเหนือจากการหายใจด้วยเหงือกตามปกติ
ความสำคัญ
ปลาหมอตาลเป็นปลาน้ำจืดที่มีความทนทาน อยู่ในแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ที่มีกระแสน้ำไม่เชี่ยว เลี้ยงง่าย รสดี พบทั่วไปเฉพาะในนาข้าวหลังการเก็บเกี่ยวเป็นปลากินพืชสามารถเลี้ยงในบ่อได้ ปลาหมอตาลเผือกนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่อเรียกต่างๆกัน เช่น ปลาอีดัน ปลาใบตาล ปลาวี ปลาจูบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Helostoma temminckii ( เฮ-โล-สะ-โต-ม่า เทม-มิน-คิ-อาย)
                                          ปลาหมอตาล
รูปร่างลักษณะ
เป็นปลาน้ำจืดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับปลาหมอ รูปร่างป้อมสั้น ลำตัวแบนข้างมากกว่าปลาหมอไทย หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ ปากเล็ก ยืดหดได้ ริมปากหนาริมฝีปากบนและล่างเท่ากัน ฟันละเอียด ตาอยู่เหนือมุมปาก เกล็ดเล็กมีอยู่ที่เส้นข้างตัว 44-48 เกล็ด เส้นข้างลำตัวขาดตอนตรงบริเวณใต้ก้านครีบอ่อนของครีบหลัง ครีบหลังและครีบก้นยาว ส่วนที่เป็นก้านครีบอ่อนมีขนาดใกล้เคียงกับหาง ครีบหูยาว ปลายมน ครีบท้องมีปลายเรียวแหลม พื้นลำตัวเป็นสีเขียวปนเทา หรือเขียวอ่อน หลังสีเทาปนดำ ท้องสีขาว ข้างลำตัวมีเส้นลายดำพาดตามยาวลำตัว ตัวโตเต็มที่มีความยาวถึง 32.5 เซนติเมตร อยู่ในครอบครัวเดียวกับปลาหมอ คือ Anabantidae ( อะ-นา-แบน-ทิ-ดี้ )ปลาหมอตาลขนาด 15 เซนติเมตรขึ้นไปจึงเห็นความแตกต่างของเพศชัดเจน ปลาตัวเมียจะมีก้านครีบอ่อนอันแรกเป็นเส้นยื่นยาวกว่าก้านครีบอันอื่นๆ ท้องนิ่มอูมป่องทั้งสองข้างก้านครีบอ่อนแรกของตัวผู้ไม่เป็นเส้นยื่นยาว เอามือลูบท้องไปทางรูก้นเบาๆจะมีน้ำเชื้อสีขาวคล้ายน้ำนมไหล ตัวผู้มีสีเข้มกว่าตัวเมีย ในชั่วชีวิตหนึ่งๆสามารถวางไข่ได้ถึง 5 ครั้ง ตามธรรมชาติปลาวางไข่ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง ตุลาคม ปีละครั้ง อาหารธรรมชาติกินพรรณไม้น้ำ แมลงน้ำ
การจูบกันเองของปลาชนิดนี้นั้น เป็นการขู่ และข่มกัน ก่อนจะเกิดการต่อสู้ครับ หรือถ้าตัวไหนยอมแพ้ตั้งแต่จูบกัน ก็จะถอยไปเอง นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
ปลาหมอช้างเหยียบ
ชื่อสามัญ : Striped Tiger Nandid
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pritolepis fasciatus
ชื่อไทย : ปลาหมอโค้ว ปลาก่า ตะกรับ โพรก หน้านวล หมอน้ำ ปาตอง
ลักษณะทั่วไป
เป็น ปลาน้ำจืดขนาดเล็ก มีรูปร่างป้อมเป็นรูปไข่หรือกลมรี ลำตัวด้านข้างแบน พื้นลำตัวสีเขียวหรือน้ำตาลปนเหลือง (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม) มีเกล็ด ปกคลุมทั่วตัว มีแถบสีดำพาดขวางลำตัวประมาณ 8-12 แถบ แถบนี้จะเห็นชัดขณะที่ปลายังเล็ก หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ ปากเล็กยืดหดได้เล็กน้อย มีฟันซี่เล็ก ๆ เป็นแถวอยู่บนขากรรไกรบนและล่าง รูจมูกแยกจากกันอย่างเด่นชัดและอยู่ชิดกับตา ครีบหลังมีสองส่วนเชื่อมติดกันเป็นแนวยาว ส่วนหน้าเป็นก้านเดี่ยวมีลักษณะเป็นหนามแหลมคม ส่วนหลังเป็นครีบอ่อน ครีบก้นใหญ่มีก้านครีบแข็งและมีลักษณะแหลมคม ครีบหางใหญ่ ปลายหางมนกลม มีขนาดความยาว 5 – 20 เซนติเมตร
นิสัย : มีนิสัยก้าวร้าว หวงถิ่น มักกัดทำร้ายกันเอง
ถิ่นอาศัย : แหล่งน้ำนิ่งในประเทศไทย และเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประเทศไทย พบตามลำคลอง หนอง บึงทุกภาค
อาหาร : ไข่ปลาทุกชนิด ลูกกุ้ง ลูกปลา แมลงน้ำ

                                         ปลาหมอทอดกระเทียม
การสังเกตเพศ
ปลาตัวผู้จะมีปลายครีบที่ยาวและชี้แหลมกว่าตัวเมียช่วงใกล้ฤดูผสมพันธุ์เวลา รีด ท้องจะมีน้ำเชื้อสีขาวขุ่นไหลออกมาส่วนตัวเมียเวลารีดท้องจะมีไข่ไหลออกมา รูทวาร
แพร่พันธุ์ โดยวางไข่เกาะติดตามวัสดุใต้น้ำ วางไข่ครั้ง ละไม่ต่ำกว่า 1,000 ฟอง ขึ้นไปจนถึงหลายหมื่นฟอง ขึ้นอยู่กับขนาดและความสมบูรณ์ของแม่ปลา

ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:


http://www.fisheries.go.th
http://blog.taradkaset.com
http://jawnoyfishing.blogspot.com

http://www.siamfishing.com


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม