วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ปลาหมอเทศ


   ปลาหมอเทศ (อังกฤษ: Mozambique tilapia, Three spotted tilapia) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oreochromis mossambicus อยู่ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีลักษณะรูปร่างทั่วไปคล้ายปลานิล (O. niloticus) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในวงศ์เดียวกันและสกุลเดียวกัน แต่ว่า ปลาหมอเทศมีรูปร่างที่เล็กกว่า มีปากกว่าที่ยื่นยาวกว่า และไม่มีลายบนครีบ

   มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา ถูกนำเข้าสู่ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2492 โดยผ่านมาจากปีนัง แต่ทว่า ความนิยมในการบริโภคของปลาหมอเทศสู้ปลานิลไม่ได้ เนื่อจากเนื้อค่อนข้างแข็ง ดังนั้น จึงมีราคาจำหน่ายที่ต่ำกว่าปลานิล

   ปลาหมอเทศเป็นปลาที่อดทดและโตเร็ว และเป็นแหล่งอาหารโปรตีนในประเทศที่กำลังพัฒนาในหลายๆ ประเทศมาเป็นเวลาอันยาวนาน
เมื่อเร็วๆ นี้ ปลาหมอเทศได้กลายมาเป็นที่นิยมกันในประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งรวมถึงประเทศอเมริกาด้วย โดยปลาหมอเทศได้ขึ้นติดอันดับที่แปดของอาหารทะเลที่มีการบริโภคกัน  ปลาหมอเทศ เป็น ปลาน้ำจืด อีก หนึ่งชนิด ของบ้านเรา ซึ่งตอนนี้ จากการเก็บข้อมูล พบว่า จำนวน ประชากร ของปลาชนิดนี้ ตามห้วย หนอง คลอง บึง ต่างๆ ได้ลดจำนวนลงน้อยกว่า ในอดีต เป็นอย่างมาก เนื่องด้วยสาเหตุ หลายอย่าง เช่น ความมักง่ายนเรื่องการกำจัดของเสีย ทำให้ จำวนน้ำเสีย ที่ถูกปล่อยลง แหล่งน้ำ ธรรมชาติ ปรมาณเพิ่มตามไปด้วย จากสาเหตุ ที่กล่าวมา ทำให้ แหล่งน้ำสาธารณะ เกิดการเน่าเสีย ส่งผลกระทบโดยตรง ต่อ ปลาหมอเทศ

ข้อมูล ทั่วๆไปของปลาหมอเทศ
ลักษณะทั่วไปเป็นปลาน้ำจืดที่นำเข้ามาเลี้ยงในประเทศ มีรูปร่างคล้ายปลาหมอไทย แต่ส่วนลำตัวและหัวใหญ่กว่า จะงอยปากค่อนข้างยาว ปากกว้าง ริมปากหนา ขากรรไกรล่างยาวกว่าขากรรไกรบน ครีบหลังยาวและสูง ส่วนที่เป็นก้านครีบแข็งยาวกว่าส่วนก้านครีบอ่อนมาก ครีบก้นยาว ครีบหางมีขนาดใหญ่ปลายมน ครีบท้องอยู่ใกล้ครีบหู มีขนาดใกล้เคียงกัน ด้านหลังมีสีเทาปนดำ ข้างลำตัวสีน้ำตาลอ่อน ท้องเหลืองจาง ๆ ตัวผู้มีขนาดใหญ่น้ำเงินปนดำ ตัวเมียเล็กกว่าและสีซีดจาง ในการผสมพันธุ์วางไข่ ตัวเมียฟักไข่ด้วยปาก ถิ่นอาศัยในแม่น้ำ ทะเลสาบ เดิมถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา อาหารกินพืชน้ำ สาหร่าย ซาก


ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
http://www.asc-aqua.org
http://thaifishs.net
กรมประมง
http://www.fisheries.go.th
http://www.fishing108.com


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม