วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ปลาตะพากเหลือง



ชื่อ ปลาตะพาก
ชื่อสามัญ Golden belly barb
ชื่อวิทยาศาสตร์ Puntius daruphani
ลักษณะ
ปลาตะพาก มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียนขาว มีลำตัวสีเหลืองทอง ส่วนหลังจะมีสีเข้มเป็นสีน้ำเงินอมเขียว ครีบหลังและครีบหางสีสันแกมเขียว ครีบท้องสีส้มหรือสีเหลือง จะผสมพันธุ์ราวเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ปลาตะพากจะกินพืชน้ำแมลงและตัวอ่อน ขนาดลำตัวยาวประมาณ ๒๐ - ๓๐ เซนติเมตร
แหล่งที่พบ
อยู่ตามแหล่งน้ำไหลเชี่ยว ลึกประมาณ ๒ - ๓ เมตร เป็นพื้นที่กรวดทราย พบตามลำน้ำปิง
ความสัมพันธ์กับชุมชน
ปลาตะพาก เป็นปลาที่หาได้ง่ายในแหล่งน้ำทั่วไป ชาวบ้านนิยมตกปลาตะพากมาเป็นอาหาร เนื้อมีรสชาดดี ภัตตาคารในกำแพงเพชรจะมีเมนูปลาตะพาก ปัจจุบันเริ่มที่จะนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
เป็นอาหารของชุมชนและจำหน่ายในตลาดทั้งในเมืองและชุมชน สร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้าน




ตะพาก เป็นชื่อของปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypsibabus wetmorei มีลักษณะลำตัวยาวรีและแบนข้าง มีเกล็ดขนาดค่อนข้างใหญ่เป็นมันแวววาว 


พื้นลำตัวสีขาวเงิน แผ่นหลังสีเขียวอมน้ำตาล มีครีบทั้งหมด 7 ครีบ ครีบอก ครีบท้องและครีบก้นสีเหลือง ปลายขอบครีบและหางสีส้ม หางเป็นเว้าแฉกลึก ครีบหลังและครีบหางสีเทาหม่น   ปลาขนาดใหญ่เกล็ดใต้ท้องเป็นสีเหลืองอร่าม มีหนวดขนาดเล็ก 2 คู่ อยู่ที่ขากรรไกรบนล่าง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 ซ.ม. พบใหญ่ที่สุดยาว 66 ซ.ม. หนัก 8 ก.ก. อาหารกินได้หลากหลายเช่น พืชน้ำ แมลงน้ำ รวมถึงสัตว์น้ำขนาดเล็กด้วย  อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วและว่ายน้ำเคลื่อนไหวตลอดเวลา ขยายพันธุ์โดยการวางไข่ระหว่างเดือนมีนาคม-ตุลาคม ไข่มีลักษณะกึ่งลอย กึ่งจม การวางไข่ครั้งหนึ่งจะมีปริมาณไข่นับเป็นแสน ๆ ฟอง และมีพฤติกรรมการผสมพันธุ์หมู่


   อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงแม่น้ำโขง เป็นปลาเศรษฐกิจ นิยมบริโภคโดยการปรุงสด รมควัน และต้มเค็ม และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ตะพากมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า กระพาก, พาก, สะป๊าก, ปากคำ, ปากหนวด, ปีก เป็นต้น ตะพากยังเป็นชื่อเรียกของปลาที่ลักษณะ ใกล้เคียงกันชนิดอื่นอีก 8 ชนิดด้วยกัน ยกตัวอย่าง เช่น


ตะพากปากหนวด




   ตะพากชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypsibarbus vernayi มีรูปร่างและขนาดใกล้เคียงตะพากชนิดแรก แต่ต่างกันตรงที่ครีบก้นไม่ยาวถึงโคนหางเหมือนตะพากชนิดแรก ครีบและหางเป็นสีแดงเข้มหรือสีส้ม และถิ่นที่อยู่พบในภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคกลางแถบ จังหวัดเพชรบุรี, ราชบุรี พบน้อยกว่าตะพากชนิดแรก คือพบเป็นบางฤดูกาลเท่านั้น ตะพากชนิดนี้มีชื่อเรียกในเขตแม่น้ำน่านว่า "ปีกแดง" ซึ่งในช่วงฤดูฝนจะมีปรากฏการณ์ ตะพากปีกแดงว่ายทวนน้ำขึ้นมาเพื่อผสมพันธุ์และวางไข่เป็นจำนวนมากกองสุมรวมกัน ซึ่งชาวบ้านเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "ปลากอง"


ตะพากส้ม




ตะพากชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypsibarbus malcolmi มีรูปร่างและขนาดใกล้เคียงตะพากชนิด Hypsibabus wetmorei แต่ต่างกันตรงที่ครีบก้นมีลักษณะโค้งเหมือนเคียว 


ครีบและหางเป็นสีแดงหรือสีส้ม รูปร่างอ้วนป้อมกว่า พบบ่อยในแม่น้ำโขง และแม่น้ำแม่กลอง ตะพากชนิดนี้มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "จาด" เป็นต้น


ตะพากสาละวิน


ตะพากชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypsibarbus salweenensis มีขนาดเล็กกว่าตะพาก 2 ชนิดแรก กล่าวคือ มีขนาดประมาณ 20-40 ซ.ม. มีความแตกต่างคือ ครีบหลังยกสูงตอนปลายมีสีดำ มีก้านครีบแข็งที่อันที่ 2 หยักที่ขอบด้านท้าย ครีบก้นสูงและมีฐานครีบสั้น 
เกล็ดไม่มีสีเหลืองเหมือนตะพาก 2 ชนิดแรก และมีรูปร่างที่ยาวกว่าตะพากหรือตะเพียนชนิดอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด มีพฤติกรรมที่ไม่ทราบแน่นอน และพบเฉพาะลุ่มน้ำสาละวินในภาคตะวันตกเท่านั้น
      
ปลาตะพากเหลือง หรือ ปลาตะพากทอง (อังกฤษ: Goldenbelly barb) เป็นปลาน้ำจืดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypsibarbus wetmorei ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ลักษณะลำตัวยาวรีและแบนข้าง มีเกล็ดขนาดค่อนข้างใหญ่เป็นมันแวววาว พื้นลำตัวสีขาวเงิน แผ่นหลังสีเขียวอมน้ำตาล มีครีบทั้งหมด 7 ครีบ ครีบอก ครีบท้องและครีบก้นสีเหลืองสด ปลายขอบครีบและหางสีส้ม หางเป็นเว้าแฉกลึก ครีบหลังและครีบหางสีเทาหม่น ปลาขนาดใหญ่เกล็ดใต้ท้องเป็นสีเหลืองอร่าม มีหนวดขนาดเล็ก 2 คู่ อยู่ที่ขากรรไกรบนล่าง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดยาว 66 เซนติเมตร หนัก 8 กิโลกรัม อาหารกินได้หลากหลายเช่น พืชน้ำ, แมลงน้ำ รวมถึงสัตว์น้ำขนาดเล็กด้วย


อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วและว่ายน้ำเคลื่อนไหวตลอดเวลา ขยายพันธุ์โดยการวางไข่ระหว่างเดือนมีนาคม-ตุลาคม ไข่มีลักษณะกึ่งลอย กึ่งจม การวางไข่ครั้งหนึ่งจะมีปริมาณไข่นับเป็นแสน ๆ ฟอง และมีพฤติกรรมการผสมพันธุ์หมู่
 
   อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงแม่น้ำโขง รวมถึงลำธารน้ำตกในป่าดิบ เป็นปลาเศรษฐกิจ นิยมบริโภคโดยการปรุงสด รมควัน และต้มเค็ม และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย รับเป็นปลาในสกุลปลาตะพากที่เป็นที่รู้จักและแพร่หลายที่สุด จึงนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า "ตะพาก" และถือเป็นปลาประจำจังหวัดกำแพงเพชร...

ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
http://www.fisheries.go.th
http://www.fishing108.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม