วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555



ปลาหลด



การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร Animaliaไฟลัม Chordataชั้น Actinopterygiiอันดับ Synbranchiformesวงศ์ Mastacembelidaeสกุล Macrognathusสปีชีส์ M. siamensisชื่อวิทยาศาสตร์ Macrognathus siamensis Günther, .. 1861


   หลด ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macrognathus siamensis อยู่ในวงศ์ปลากระทิง (Mastacembelidae) มีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย จะงอยปากยื่นแหลมยาว ครีบหางเล็กปลายมนแยกจากครีบหลังและครีบก้นที่ยาว ครีบอกเล็กกลม ตัวมีสีเทาอ่อน ด้านบนมีสีคล้ำ ด้านท้องสีจาง ครีบหลังคล้ำมีจุดเล็กสีจางประและมีดวงสีดำขอบขาวแบบดวงตา 4 - 5 ดวงตลอดความยาวลำตัว โคนครีบหางมีอีก 1 ดวง มีความยาวประมาณ 12 - 15 .. ใหญ่สุดพบ 25 ..   อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่งทั่วไป และแม่น้ำลำคลองของทุกภาค บริโภคโดยปรุงสด ทำปลาแห้ง และรมควัน นอกจากนี้ยังจับขายเป็นปลาสวยงามด้วย
การเพาะเลี้ยงปลาหลด

ปลาหลด เป็นปลาน้ำจืดพื้นบ้านของไทยที่อาศัยอยู่ในห้วย หนอง คลอง บึง ตาม แหล่งน้ำธรรมชาติ และอยู่ตามพื้นน้ำ ฝังตัวอยู่ในทรายตอนกลางวัน หากินอาหาร ในเวลากลางคืน ชอบกินตัวอ่อนของแมลง หนอน ไส้เดือน สัตว์เล็กๆ และเศษเนื้อ เน่าเปื่อยเป็นอาหาร ปลาชนิดนี้เดิมที่ชุกชุมมากช่วงฤดูฝน ยกยอครั้งใดมัก จะติดขึ้นมาด้วยเสมอ ปัจจุบันนี้หารับประทานกันได้ยากยิ่งขึ้น เนื่องมาจาก แหล่งน้ำมีสารพิษและการเน่าเสีย สภาพแวดล้อมไม่สมดุลทำให้การวางไข่ลด ลง จำนวนปลาจึงน้อยลงและมีให้เห็นแต่เพียงตัวเล็กๆ ถ้าปลาหลดตัวใหญ่นั้น เป็นปลาที่มาจากประเทศกัมพูชา ไม่แปลกราคาปลาหลดที่มีขายอยู่ตามท้องตลาด ค่อนข้างสูง อยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 120-200 บาท
ลักษณะของปลาหลด

ลักษณะที่โดดเด่นของปลาหลดคือ เป็นปลาที่อดทนสูง อาศัยอยู่ในโคลนตมได้ นาน รูปร่างคล้ายปลาไหล ปลายปากยื่นยาวสามารถยืดหดได้ ลำตัวยาวเรียว ประมาณ 15-30 เซนติเมตร ตัวปลากลมมน หัวเล็ก จะงอยปากเรียวแหลม ปากและตา เล็ก ครีบหลังและครีบก้นยาว ครีบหางเล็ก ไม่มีครีบท้อง หลังสีน้ำตาลท้องมี สีอ่อนปนเหลือง มีจุดสีดำที่ครีบหลัง 3-5 จุด เกล็ดเล็กมาก จนมองดูเหมือน ไม่มี อยู่ในวงศ์เดียวกับปลากระทิง แต่ขนาดเล็กกว่า


เพาะเลี้ยงปลาหลด

ในการเลี้ยงปลาหลดเพื่อการค้าอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากการหาพ่อแม่พันธุ์ ปลาหลดยังต้องหาตามแหล่งน้ำจากธรรมชาติ ทำให้ปลามีความบอบซ้ำและปริมาณก็ ไม่มากพอ แหล่งที่มีการรวบรวมพันธุ์ที่สำคัญคือ ตลาดโรงเกลือ อำเภอ อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
คณะวิชาประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ได้ เห็นความสำคัญ จึงได้ศึกษาวิจัยและทดลองการเพาะเลี้ยงปลาหลดอย่างเอาจริง เอาจัง เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงปลาชนิดนี้ในเชิงธุรกิจ ซึ่งจะ สามารถสร้างรายได้ให้แก่ผู้เลี้ยงได้เป็นอย่างดี
..หทัยรัตน์ เสาวกุล หัวหน้าคณะวิชาประมง หนึ่งในคณะผู้ วิจัย กล่าวว่า คณะผู้วิจัยการเพาะเลี้ยงปลาหลดได้ศึกษาวิธีการเพาะเลี้ยง หรือขยายพันธุ์ปลาหลด เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรกรให้มีรายได้จากการ เลี้ยงปลาเพิ่มขึ้น

          ทอดกินเป็นกับแกล้มวิเศษนักเชียวการเพาะพันธุ์ปลาหลด

   เราจะคัดปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีความสมบูรณ์ คือเพศเมีย ลำตัวอ้วน ป้อม จากนั้นก็ฉีดฮอร์โมนเพศเมีย ทำการฉีด 2 ครั้ง ซึ่งครั้งที่ 2 พัก ห่างจากครั้งที่ 1 ประมาณ 6 ชั่วโมง เพศผู้ ทำการฉีดเพียงครั้งเดียว โดย ฉีดพร้อมเพศเมีย เข็มที่ 2 แล้วก็นำพ่อแม่พันธุ์ที่ฉีดฮอร์โมนเรียบ ร้อย ปล่อยลงในถังเดียวกันเพื่อให้ผสมกันเองตามธรรมชาติ
   ปลาหลดเพศเย 1 ตัว จะให้ไข่ได้ถึง 3,000 - 5,000 ฟอง ซึ่งจมติดวัตถุใน น้ำและฟักตัวในอุณหภูมิ 25-28 องศาเซลเซียส ใช้ระยะเวลา ประมาณ 48-60 ชั่วโมง หลังจากไข่ถูกฟักออกมาเป็นตัวแล้ว อาหารที่ให้ในระยะ การอนุบาลควรเป็นไรแดง เพราะมีการเจริญเติบโตและมีอัตราการรอดดีที่ สุด แล้วค่อยให้หนอนแดงหรือไส้เดือนเป็นอาหาร
   ผ..หทัยรัตน์ กล่าวว่า ปลาหลดสามารถเลี้ยงได้ทั้งบ่อดินและบ่อ ซีเมนต์ ลักษณะของบ่อซีเมนต์ควรมีขนาด 4x4 เมตร หรือ 2x4 เมตร ความสูง ประมาณ 70 เซนติเมตร หรือเพียง 50 เซนติเมตร เพาะปลาหลดจะไม่กระโดด แต่ ถ้าสูงก็สามารถป้องกันงูและศัตรูอื่นๆ ได้ดี
ผิวบ่อฉาบเรียบ อาจทำให้ลาดเอียงประมาณครึ่งบ่อเพื่อใส่ทรายปนดินเหนียว ไว้ที่ก้นบ่อ ข้อดีของบ่อซีเมนต์คือสามารถควบคุมไม่ให้ปลาหนีได้ ซึ่งบ่อ ดินจะทำให้ปลาหลดหลบซ่อนตัวอยู่ในโคลน การจับขายค่อนข้างลำบาก ลูกปลา อายุ 2 สัปดาห์ ขึ้นไป หรือความยาว ประมาณ 3-4 นิ้ว จำนวน 2,000 - 2,500 ตัว สามารถปล่อยลงบ่อเพาะเลี้ยง ได้ แต่ถ้าจะให้ดีต้องอายุ 1 เดือน

                         ตัวขนาดนี้หาได้ยากมากแล้วตามธรรมชาติ

   "
ในการเลี้ยงปลานั้น เราต้องมีการจัดการน้ำที่ดี ตรวจสอบคุณภาพ ของอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเป็นปลากินเนื้อ น้ำจะเสียได้ง่าย ใช้วิธีเพิ่ม น้ำเข้าไปแล้วไหลออกอีกทางหนึ่ง ปลาจะมีความรู้สึกว่าน้ำไหลเวียน พื้นบ่อ ควรจะหากระบอกไม้ไผ่หรือท่อน้ำเก่าๆ ให้ปลาหลดชอบหลบอาศัยอยู่ในโพรงหรือ กระบอก ใส่ผักบุ้งไว้ส่วนหนึ่งไม่ต้องมากนัก ระดับความสูงของน้ำให้ท่วม บริเวณพื้นดินประมาณ 40 เซนติเมตร" ปลาหลดจะโตเร็ว ใช้เวลา เพียง 6-7 เดือน ก็สามารถจำหน่ายได้แล้ว ซึ่งมีขนาดประมาณ 30-40 ตัว ต่อ กิโลกรัม หากเลี้ยงจนได้อายุ 1 ปี ก็สามารถใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ได้
    สำหรับอาหารที่ใช้ในเลี้ยงปลาหลดนั้น เหมือนกันกับเหยื่อของปลาไหล โดยมี หลักๆ ดังนี้ หอยเชอร์รี่ นำมาทุบแยกเปลือกและเนื้อออกจากกัน แล้วสับเนื้อ หอยให้ละเอียด นำไปวางไว้บริเวณชายพื้นรอยต่อระหว่างทรายกับผิวปูน ซีเมนต์ กองไว้ เมื่อเหยื่อเริ่มเน่าปลาหลดจะเข้ามากินหรืออาจกินตั้งแต่สดๆ
"
เราจะต้องคอยดูว่า ปลาหลดจะกินหมดในเวลา 2-3 วัน หรือไม่ ถ้าหมดควร เพิ่มให้อีก แต่ถ้าเหลือควรลดลง เวลาการให้อาหารควรระวัง คือต้องอย่าให้ เกิดการกระเทือน เพราะจะทำให้ปลาตกใจหนี"
"
ในการประกอบอาชีพเลี้ยงปลาชนิดทั่วๆ ไปนั้น ต้องมีต้นทุนในการซื้อ อาหารเม็ดสำเร็จรูป ในขณะที่อาหารปลาหลดเราหาได้เองตามธรรมชาติ เช่น หอยเชอ รี่ ซึ่งเป็นศัตรูทำลายต้นข้าวมีจำนวนมาก หากนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ยัง ช่วยทำลายหอยเชอรี่โดยไม่ต้องใช้สารเคมีในการกำจัด อีกอย่างไส้เดือนก็หาได้ ทั่วไปได้เช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบแล้วปลาชนิดอื่นขายขายได้ในราคาที่ ถูกกว่า ปลาหลดขายได้แพงกว่า แต่ต้นทุนต่ำกว่า เกษตรกรสามารถประกอบเป็น อาชีพเสริมได้อย่างดี " ผศ.หทัยรัตน์ กล่าว

                                 ขนาดนี้เหมาะสำหรับทอดกรอบกินได้ทั้งเนื้อทั้งก้างเลี้ยงไส้เดือนเป็นอาหารปลาหลด

ดังที่บอกแล้วว่า ปลาชนิดนี้ กินอาหารได้หลายชนิด ทำให้ ผศ.หทัย รัตน์ เกิดความคิดที่จะเพาะไส้เดือนมาให้ปลากิน จึงได้ไปอบรมการเพาะเลี้ยง ไส้เดือนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
"
ไส้เดือน น่าจะเป็นอาหารที่ดีสำหรับการนำมาเลี้ยงปลาหลด เพราะตาม ธรรมชาติแล้วช่วงฤดูฝนเวลาเราจับปลาหลดได้ พอผ่าท้องออกมาก็จะพบไส้เดือน จำนวนมาก แสดงว่าไส้เดือนเป็นอาหารที่ปลาหลดชอบกิน"ผศ.หทัยรัตน์ กล่าวว่า ไส้เดือนนั้นเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง ถึง 60% ของน้ำหนักตัว จะทำให้ปลาโตเร็ว สุขภาพแข็งแรง เกล็ดเป็นเงา งาม สามารถผลิตปลาหลดได้ทันต่อความต้องการในปัจจุบัน ซึ่งการเลี้ยง ไส้เดือนเพื่อเป็นอาหารของปลาหลดนั้น ข้อดีคือ ต้นทุนในการเลี้ยงน้อย มาก เพราะการเลี้ยงไส้เดือนใช้เพียง มูลช้าง วัว ควาย ขุย มะพร้าว กระดาษ เศษอาหาร ผลไม้เน่าเสีย เลี้ยงใน ภาชนะ เช่น ถัง กะละมัง ซึ่งอยู่ในที่ร่มและมีความชื้น ก็ทำให้ไส้เดือน สามารถเจริญเติบโตและขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว
ข้อดีของการเลี้ยงปลาหลดด้วยไส้เดือน

1.
ไส้เดือนสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ปริมาณที่เพียงพอ ลงทุนต่ำ
2.
ไส้เดือนเมื่องลงบ่อ จะอยู่ได้ถึง 1 วัน ไม่ตาย ปลาหลดจะจับกินได้อย่างต่อเนื่อง
3.
ปลาหลด ชอบกินเหยื่อไส้เดือน
ปลาหลด เอาไปทำอาหารอะไรได้บ้าง
ปลาหลด ปลาที่มีความอร่อยอยู่ในตัว เมื่อถูกปรุงเป็นอาหารจึงสร้างความ โอชะได้มากยิ่งขึ้น ที่สำคัญต้องเลือกปลาสด จึงจะไม่มีกลิ่นคาวมาก เนื้อ มีรสหวาน สังเกตตาต้องใส ตัวปลามีเมื่อกลื่นมือ ถ้าปลาไม่สดเมือกจะขุ่น ขาว จับตัวปลาแล้วไม่ลื่น มีกลิ่นคาวแรง
ปลาตัวเล็กนิยมเอามาเคล้าเกลือตากแห้ง เป็นปลาแดดเดียว นำมาทอดกรอบได้ อร่อยนัก ถ้าได้ปลามาสดๆ เอามาทำต้มโคล้งต้องใส่เครื่องสมุนไพรสด พวก ข่า ตะไคร้เยอะๆ น้ำต้องเดือดจัดก่อนจึงใส่ปลา ต้มจึงจะไม่มีกลิ่นคาว อีก วิธีเมื่อล้างปลาแล้วเคล้าด้วยเกลือหมักไว้สักครู่ ล้างน้ำย่างไฟ พอหนัง ปลาเหลืองก็จะช่วยดับกลิ่นคาวได้ หรือนำปลาสดมาเคล้าเกลือ หรือแช่น้ำปลา แล้วนำไปทอดกินกับข้าวสวยร้อนๆ กับพริกน้ำปลาบีบมะนาวก็อร่อยเช่นกัน
นอกจากจะใช้ปรุงเป็นอาหารแล้ว ยังมีการนำไปเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โชว์เป็น ปลาตู้อีก ขณะที่ปลาหลดว่ายจะดูสง่างาม ราคาจะยิ่งสูงขึ้นโดยเฉพาะตัวที่มี จุด จะตกอยู่ตัวละ 20-30 บาท และอีกอย่างการเอาไปทำเป็นเหยื่อล่อปลา จะ ใช้ปลาหลด ขนาด 3-4 นิ้ว ราคาตัวละ 3-4 บาท สามารถใช้เป็นเหยื่อล่อปลา ชะโด ปลาช่อน


เบ็ดขูดปลาหลด : หากินในดินโคลน


เบ็ดขูดปลาหลด เป็นเครื่องมือที่ใช้จับปลาหลดโดยเฉพาะ ใช้เบ็ดเป็นอุปกรณ์หลักในการทำงาน แต่ไม่ได้ใช้เบ็ดโดยวิธีตกปลาหรือใช้เหยื่อเกี่ยวเบ็ดเพื่อให้ปลามาติดเบ็ด แต่ต้องจับด้ามเบ็ดนี้ไว้ขูดไปตามเลนดิน ปลาหลดจะติดมากับส่วนโค้งของตัวเบ็ด เครื่องมือนี้ใช้เบ็ดเป็นหลักก็จริง แต่ใช้โดยการขูด จึงเรียกว่าเบ็ดขูดปลาหลด
ปลาหลดมีลำตัวเรียวยาว ขนาดตัวยาวประมาณ ๑๕ เซนติเมตร ชอบหมกตัวอยู่ตามโคลนเลนลึกๆ ซ่อนตัวตามที่มืด ใช้จะงอยปากโผล่เหนือผิวโคลนเพื่อหายใจ หากินกลางคืน เวลาที่จับปลาหลดได้ผลดีคือเวลากลางวัน ที่ปลาหลดจะหมกตัวตามโคลนเลนนั่นเอง
การจับปลาหลดอย่างได้ผลต้องจับหน้าแล้ง เพราะน้ำลดแห้งลงมาก ปลาใหญ่ๆ จะไปรวมกันตามน้ำลึก ส่วนปลาหลดจะหมกโคลนตามชายคลอง ชายทุ่ง ชายบึง ผู้คนนิยมใช้เครื่องมือที่เป็นขออย่างโอกรีดปลาหลด หรือเบ็ดขูดปลาหลดได้ปลาหลดจำนวนมาก เพราะปลาหลดฝูงหนึ่งๆ เป็นฝูงใหญ่ มีน้ำหนักรวมกันหลายสิบกิโลกรัม
ปลาหลดถูกจับในอีกสถานการณ์หนึ่ง คือเมื่อชาวบ้านวิดน้ำ ปลาอื่นๆ ถูกจับโดยการทอดแหลากอวน แต่เครื่องมือพวกนี้จับปลาหลดไม่ได้ดี เพราะปลาหลดมุดใต้โคลนเลน มุดไปทั่วและเคลื่อนไหวเร็วมาก ยิ่งไปกว่านั้นปลาหลดก็ไม่กินเบ็ด เพราะมีปากเล็กมาก มีบ้างที่ปลาหลดไหลมาตามน้ำ ติดลอบในหน้าฝน แต่ก็เป็นส่วนน้อย การจับปลาหลดซึ่งมีธรรมชาติเฉพาะ ในสภาพแวดล้อมจำเพาะ จึงต้องใช้เครื่องมือที่คิดประดิษฐ์เพื่อจับปลาหลดโดยตรง เครื่องมือจึงมีชื่อเรียกเพื่อระบุหน้าที่ที่จับเฉพาะปลาหลด อย่างโอกรีดปลาหลดหรือเบ็ดขูดปลาหลด เป็นต้น

   กับข้าวก็ได้ กับแกล้มก็ดี...เบ็ดขูดปลาหลด ทำง่าย ใช้ง่าย น้ำหนักเบา เหมาะมือ ใช้วัสดุใกล้ตัว ได้แก่ เบ็ด เชือกเส้นเล็ก ไม้ไผ่เหลายาวประมาณ ๔๐ เซนติเมตร ทำเป็นด้ามจับ
วิธีทำ วิธีใช้งาน มัดเบ็ดกับปลายไม้ด้านหนึ่งให้แน่น ปลายอีกด้านที่เป็นด้ามจับใช้มีดบากหยักเพื่อมัดเชือกเส้นเล็กที่มีความยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร หรือมีความยาวพอเหมาะกับการมัดข้อมือขณะใช้งาน เมื่อจะใช้งานผู้ใช้ใช้มือจับส่วนที่เป็นด้ามจับไว้แล้วจับเชือกมัดพันข้อมือ นำเบ็ดไปขูดตามเลนดินที่มีปลาหลดอาศัยอยู่ สังเกตจากปากหรือจะงอยแหลมๆ ที่โผล่ตามโคลนเลน เมื่อขูดปลาติดแล้วต้องปล่อยมือจากด้ามจับให้เหลือเพียงเชือกที่มัดหรือคล้องข้อมือไว้เท่านั้น รอให้ปลาดิ้นอ่อนแรงแล้วจึงคว้าด้ามเบ็ดขึ้นมาถือ เพราะหากถือคันเบ็ดช่วงที่ปลาดิ้นจะทำให้ปลาหลดบิดตัวหลุดจากเบ็ดได้
เมื่อจับปลาหลดได้ ชาวบ้านจะใช้หมาดซึ่งเป็นเหล็กซี่เล็กๆ ปลายแหลม ยาวประมาณ ๒๐ เซนติเมตร ที่โคนมีห่วงร้อยด้ายเหนียวไว้ร้อยเหงือกปลาหลดให้เป็นพวง แล้วเสียบหมาดไว้ที่เอว
ปลาหลดมีเมือกลื่นๆ คล้ายปลาไหล ลำตัวเรียวยาว อยู่ตามโคลน คล้ายปลาไหล ชาวบ้านจึงมีคำกล่าวถึงปลาทั้งสองประเภทนี้ว่า "ลื่นเป็นปลาไหล ไวเป็นปลาหลด" การใช้เบ็ดขูดปลาหลดจึงต้องขูดเร็วๆ ยกดูบ่อยๆ เงี่ยงเบ็ดก็มีส่วนช่วยเกี่ยวปลาไว้ ไม่อย่างนั้นปลาหลดจะลื่นหลุดได้ ความลื่นของปลาหลดกำจัดออกด้วยขี้เถ้า แกลบ หรือใบมะเดื่อ เช่นเดียวกับการกำจัดเมือกปลาไหล บ้างก็ล้างด้วยสารส้ม หรือเคล้าเกลือ นิยมนำไปย่าง
เนื้อปลาหลดเป็นเนื้อเส้น หวาน ไม่เละ กลิ่นเหมือนขี้โคลน เนื้อแน่น เก็บปลาหลดย่างได้นานกว่าปลาสร้อย ใส่แกงเผ็ด แกงเลียง ต้มยำข่า เนื้อแตกมันอร่อย
เบ็ดขูดปลาหลดมีทั้งที่ใช้เบ็ดตัวเดียว ๒ ตัวคู่ หรือ ๓ ตัว และยังมีเครื่องมืออีกหลายชนิดที่ใช้จับปลาหลดเป็นการเฉพาะ ตามโคลนตมจึงเป็นแหล่งอาหารที่ชาวบ้านรู้ว่ามีของดีรออยู่


การปฐมพยาบาลกรณีถูกสัตว์ทำร้าย : ปลาหลดหิน

ปลาหลดหินมีรูปร่างคล้ายกับงูหรือปลาไหล แต่จะมีรูปร่างอ้วน และสั้นกว่า ขนาดลำตัวยาวประมาณ 1.5เมตร และน้ำหนักมาก บางครั้งอาจพบว่าหนักมากเกิน 20 กิโลกรัม ปลาหลดมีหลายชนิดและลักษณะแตกต่างกันไป เช่น มีสีเหลืองลายดำ สีขาว เป็นต้น ปลาหลดมักชอบอาศัยอยู่ตามซอก หรือรูตามโพรงหิน โพรงปะการัง ตามเกาะกลางทะเล บางชนิดมักชอบอาศัยอยู่ตามท้องทะเลที่เป็นโคลน      ปลาหลดจะทำร้ายศัตรูด้วยการขบกัด ด้วยฟันที่แหลมคม หากเราไปเล่นน้ำหรือดำน้ำชมปะการังและเข้าไปใกล้ ก็อาจถูกทำร้ายได้ง่าย เพราะปลาหลดมีนิสัยดุร้าย และจะพุ่งตัวเข้ากัดศัตรูในระยะใกล้ ๆ เสมอ ดังนั้น จึงควรระมัดระวังในขณะเล่นน้ำหรือดำน้ำชมปะการัง 
การปฐมพยาบาลและการป้องกัน             
      เมื่อเกิดบาดแผลจากการถูกขบกัดควรรีบขึ้นจากน้ำโดยเร็วแล้วปฐมพยาบาล โดยการห้ามเลือดและใส่ยาสำหรับแผลสดจากนั้นจึงรีบนำส่งแพทย์เพื่อรักษาต่อไป     สำหรับการป้องกันนั้น ในการดำน้ำชมปะการังเมื่อพบซอก รู หรือ โพรงไม่ควรยื่นมือเข้าไปล้วงหรือเอาเท้าไปเหยียบเพราะอาจมีปลาหลดหินนอนอยู่ในรูหรือโพรงของหินปะการัง และพุ่งเข้ามากัดโดยเราไม่ทันรู้ตัวได้ และเพื่อความปลอดภัยควรอยู่ห่างจากซอก รู หรือโพรงในรัศมีไม่ต่ำกว่า เมตร 





ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี จังหวัดพิษณุโลก


 

read more "ปลาหลด"


บู่ทราย บู่จาก บู่ทอง บู่เอื้อย บู่สิงโต








ชื่อ ปลาบู่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Oxyeleotris marmoratus
ชื่อสามัญ MARBLED SLEEPY GOBY, SAND GOBY
ชื่ออื่น บู่ทราย บู่จาก บู่ทอง บู่เอื้อย บู่สิงโต


ลักษณะหรือลักษณะพิเศษ


   ปลาบู่ ลำตัวค่อนข้างกลม ส่วนหางค่อนข้างแบน ปากกว้างเฉียงขึ้นข้างบนเล็กน้อย นัยน์ตาเล็กโปนกลมตั้งอยู่ค่อนไปทางบริเวณส่วนหัว ถัดริมปากเล็กน้อยมีรูจมูกคู่หน้าเป็นหลอดยื่นขึ้นมาติดกับร่องเหนือริมฝีปาก ครีบหลังมีสองอัน ครีบหางกลมมน เคลื่อนไหวช้าในระดับกลางน้ำ แต่จะปราดเปรียวเมื่ออยู่บนพื้นดินก้นแหล่งน้ำและสามารถหยุดการเคลื่อนไหวได้อย่างกระทันหัน 
   ตามปกติแล้วในตอนกลางวันปลาบู่จะทรงตัวนิ่งไม่เคลื่อนไหว ทำให้บางคนเข้าใจว่าปลาหลับ โดยปกติปลาบู่จะฝังตัวอยู่ในพื้นโคลนหรือพื้นทราย กินลูกกุ้งลูกปลาและหอยเป็นอาหาร เป็นปลาที่กินจุ สามารถกินอาหารหนักเท่ากับน้ำหนักของมันต่อวันและทุก ๆ วัน ขนาดลำตัวทั่วไปยาว 20 - 30 เซนติเมตร แต่ขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวถึง 60 เซนติเมตร

แหล่งที่พบ
พบแพร่กระจายอยู่ในแม่น้ำ ลำคลอง บึง ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ในปัจจุบันมี ผู้นิยมเลี้ยงปลาชนิดนี้ในกระชังที่แขวนลอยอยู่ในแม่น้ำทางแถบจังหวัดอุทัยธานี นครสวรรค์ และอยุธยา ส่วนจังหวัดกำแพงเพชรพบมากในแม่น้ำปิง


ความสัมพันธ์กับชุมชน
ปลาบู่เป็นปลาที่มีเนื้อนุ่ม รสดี เป็นปลาที่มีก้างน้อย แต่คนไทยไม่นิยมกินเพราะ รังเกียจผิวหนังซึ่งมีลักษณะคล้ายหนังงู และมีความเชื่อถือเกี่ยวกับนิทานปรัมปราว่า เป็นปลาซึ่งกลายร่างมาจากคน ส่วนคนจีนนิยมรับประทานเพราะเชื่อว่าให้พลังทางเพศ โดยทั่วไปนำมาทำอาหารจำพวกนึ่ง ต้มยำ หรือต้มเค็ม


ความสำคัญทางเศรษกิจ
ชาวบ้านมีรายได้จากการจับปลาบู่ตามธรรมชาติมาขาย และมีอาชีพเลี้ยงปลาบู่ในกระชัง ปัจจุบันปลาบู่เป็นที่ต้องการของร้านอาหารเพื่อปรุงอาหารจำหน่ายแก่ลูกค้า ปลาบู่จึงเป็นปลาเศรษฐกิจของไทยอีกชนิดหนึ่ง และสามารถส่งไปขายยังต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน จีน สิงคโปร์ ทำให้มีรายได้เข้าประเทศปีละเป็นร้อยล้านบาท








การเพาะเลี้ยงปลาบู่ทราย
นานาสัตว์น้ำ กับ อาจารย์เสน่ห์ ผลประสิทธิ์


ขณะนี้มีอาชีพเลี้ยงปลาบู่ในกระชังอยู่ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล ผลการเลี้ยงได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง แต่ก็พอยึดเป็นอาชีพเลี้ยงตัวได้ แต่มีปัญหาสำคัญคือ ลูกพันธุ์ปลาบู่ เพราะเดี๋ยวนี้หาได้ยาก ส่วนมากซื้อต่อจากชาวประมงที่อยู่ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล กว่าจะรวบรวมลูกปลาได้พอเลี้ยงได้ 1 กระชัง ต้องใช้เวลาหลายวัน ลูกปลาที่ได้ก็มีขนาดไม่เท่ากัน เมื่อเลี้ยงไปสักพักหนึ่งปลาก็ลดจำนวนลง เพราะตัวใหญ่กินตัวเล็ก
ถามว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างไร ถ้าจะเพาะพันธุ์เองจะมีโอกาสเป็นไปได้หรือไม่ จะยากเกินสติปัญญาหรือไม่
ก็คิดถูกทางแล้ว เพราะการเลี้ยงสัตว์น้ำไม่ว่าจะเป็นสัตว์น้ำหรือสัตว์บก การเพาะพันธุ์เองเป็นวิธีที่ถูกต้องครับ แม้ว่าจะเป็นเรื่องยุ่งยาก ละเอียดอ่อน ต้องอาศัยหลักวิชาการและเทคนิคอย่างมากก็ตาม แต่ถ้าทำได้ก็ให้ผลตอบแทนคุ้มค่าทีเดียว นอกจากจะได้ลูกพันธุ์ที่มีคุณภาพดีและประหยัดค่าขนส่งแล้ว หากมีลูกปลาเหลือก็ยังขายให้คนอื่นๆ ได้ด้วย ก็จะได้กำไรจากส่วนนี้ไปบ้างแล้ว เพราะลูกพันธุ์ปลาบู่ไม่ค่อยมีคนเพาะขาย เนื่องจากลูกปลาบู่ในวัยอ่อนนั้น อนุบาลให้รอดชีวิตได้ค่อนข้างยาก และเติบโตช้า ก็เลยไม่มีใครอยากจะเพาะพันธุ์ขาย


1. ลักษณะทั่วไป
ปลาบู่ทราย (Oxyeleotris marmorata) จัดว่าเป็นปลาบู่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาปลาบู่ทั้งมวล ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบ มีความยาวถึง 60 เซนติเมตร รูปร่างกลมยาว คล้ายปลาช่อน แต่ค่อนข้างอ้วนป้อมกว่า สีและลายผิดจากปลาช่อนพอประมาณ คือสีของลำตัวปลาบู่จะออกเป็นสีน้ำตาล หรือน้ำตาลอมแดง มีลวดลายสีน้ำตาลอ่อนแซมสลับอยู่เป็นระยะ ส่วนหัวมีจุดสีดำประปราย ปากกว้างใหญ่ ภายในปากมีฟันแหลมซี่เล็กๆ เรียงอยู่บนขากรรไกร 1 แถว เพื่อใช้จับเหยื่อซึ่งเป็นกุ้งขนาดเล็กและลูกปลา


2.
การแพร่กระจาย (Distribution)ปลาบู่ทราย เป็นปลาที่สามารถพบได้ทั่วไปในแหล่งน้ำจืด หรือน้ำกร่อยเล็กน้อย ทั้งในน้ำนิ่ง เช่น หนอง บึง และในน้ำไหล เช่น แม่น้ำลำคลองทั่วไป ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ บอร์เนียว เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย มาเลเซีย จีน และไทย ซึ่งจะพบแพร่กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในแม่น้ำเจ้าพระยา ปากน้ำโพ บึงบอระเพ็ด แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำท่าจีน นอกจากนี้ ยังพบในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ต่างๆ เช่น เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนบางลาง อ่างเก็บน้ำบางพระ และในทะเลน้อย จังหวัดสงขลา ซึ่งปลาบู่มักแพร่ขยายพันธุ์และเจริญเติบโตได้ดีในอ่างเก็บน้ำที่สร้างขึ้นใหม่ เช่นเดียวกับปลากินเนื้ออื่นๆ



3.
อาหารและนิสัยการกินอาหาร

ปลาบู่ทราย เป็นปลากินเนื้อ (carnivorous) อย่างแท้จริงในธรรมชาติ ปลาบู่ทรายจะกินกุ้งฝอย กุ้งน้ำจืดชนิดอื่นๆ และลูกปลาตามลำดับ ปลาบู่ทรายจัดว่าเป็นปลากินเนื้อที่มีนิสัยการกินอาหารแปลกไปกว่าปลากินเนื้อชนิดอื่นๆ คือ แทนที่จะไล่ล่าเหยื่อ กลับพรางตัว หรือฝังตัวอยู่ในพื้นโคลนหรือพื้นทรายก้นน้ำ เหลือแต่ลูกตาโผล่ขึ้นมาเพื่อคอยสังเกตเหยื่อที่จะผ่านเข้ามาใกล้แล้วโผขึ้นมาจับกินเป็นอาหารอย่างรวดเร็ว ด้วยนิสัยอย่างนี้ จึงอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ปลาบู่มีการเจริญเติบโตช้ากว่าปลากินเนื้อชนิดอื่นๆ

4.
การสืบพันธุ์
4.1
ความแตกต่างเพศ
เมื่อสังเกตจากลักษณะภายนอก จะเห็นความแตกต่างระหว่างเพศของปลาบู่ได้ชัดเจน กล่าวคือ ปลาบู่เพศผู้จะมีติ่งเนื้อขนาดเล็กอยู่ใกล้รูทวาร ส่วนปลาบู่เพศเมีย จะมีติ่งเนื้อรูปสามเหลี่ยมขนาดใหญ่กว่า ลักษณะคล้ายถ้วยน้ำชาอยู่ใกล้รูทวาร เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ส่วนปลายอวัยวะเพศทั้งของเพศผู้และเพศเมียจะบวมขึ้น มีสีชมพูหรือสีแดง ยิ่งมีสีเข้มมากขึ้นเท่าใด ยิ่งใกล้วันผสมพันธุ์มากขึ้นเท่านั้น

4.2
การเจริญพันธุ์ และฤดูกาลวางไข่ (maturation and spawning season)ปลาบู่โตเต็มวัยเมื่อมีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตรขึ้นไป แต่จากการศึกษาเกี่ยวกับชีววิทยาของปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจในอ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี พบว่า ขนาดของปลาบู่ที่สามารถขยายพันธุ์ได้มีขนาดตั้งแต่ 8 เซนติเมตรขึ้นไป และมีการศึกษาการเจริญเติบโตของอวัยวะเพศของปลาบู่พบว่า ปลาเพศเมียที่มีรังไข่ (ovary) แก่เต็มที่มีขนาดความยาวสุดปลายทาง 12.5 เซนติเมตร น้ำหนัก 34 กรัม และเพศผู้มีถุงน้ำเชื้อ (testes) แก่เต็มที่มีความยาว 14.5 เซนติเมตร หนัก 44 กรัม ปลาบู่จะเริ่มสร้างอวัยวะเพศภายในตั้งแต่เดือนมกราคมซึ่งในระยะแรกยังไม่สามารถแยกออกได้ว่าเป็นรังไข่หรือถุงน้ำเชื้อ เมื่อถึงเดือนมีนาคมจึงจะแยกออกได้โดยรังไข่จะมีจุดสีขาวเล็กๆ แล้วเจริญเป็นเม็ดไข่ต่อไป แต่ถ้าเป็นถุงน้ำเชื้อก็จะเป็นสีขาวทึบขึ้นจากเดิม รังไข่ที่แก่จัดมีสีเหลืองเข้มมีเม็ดไข่อยู่เต็มและมีเส้นเลือด (ovarian arteries) มาหล่อเลี้ยง ส่วนถุงน้ำเชื้อที่แก่จัดจะมีลักษณะเป็นสายและมีรอยหยักเล็กน้อยและมีสีขาวทึบ
ปลาบู่สามารถวางไข่ได้เกือบตลอดทั้งปี ยกเว้นในช่วงฤดูหนาวตลอดฤดูกาลวางไข่นั้น ปลาบู่สามารถวางไข่ได้ประมาณ 3 ครั้ง โดยคำนวณจากการเก็บข้อมูลการวางไข่ของแม่ปลาบู่จำนวน 150 คู่ ที่สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดปทุมธานี ในปี 2527 ได้รังไข่ตลอดปีจำนวน 507 รัง

4.3
พฤติกรรมการผสมพันธุ์และการวางไข่ (mating behavior and spawning)จากการสังเกตการผสมพันธุ์ของปลาบู่ในธรรมชาตินั้น พบว่า ปลาบู่ตัวผู้จะหาสถานที่ในการวางไข่ ได้แก่ ตอไม้ เสาไม้ ทางมะพร้าว ฯลฯ แล้วทำความสะอาดวัสดุดังกล่าว หลังจากนั้นตัวผู้จะเข้าเกี้ยวพาราสีพร้อมไล่ต้อนตัวเมียให้ไปที่รังที่เตรียมไว้เพื่อการวางไข่ โดยธรรมชาติแล้วปลาบู่มีการจับคู่ผสมพันธุ์กันเป็นคู่ไม่เหมือนกับปลาตะเพียนที่ไล่ผสมกันเป็นหมู่ ปลาบู่ส่วนใหญ่เริ่มมีการผสมพันธุ์ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง แล้วแต่ความพร้อมของคู่ผสมพันธุ์ตั้งแต่ตอนค่ำจนถึงตอนเช้ามืด ซึ่งทราบได้จากพัฒนาการของไข่ปลาบู่ที่รวบรวมได้ในตอนเช้า มาเปรียบเทียบย้อนหลังกับผลการศึกษาคัพภวิทยาที่ได้มีผู้ทำการศึกษาวิจัยไว้


ธรรมชาติของปลาบู่นั้นผสมพันธุ์แบบภายนอกตัวปลา (external fertilization) คือ ตัวเมียปล่อยไข่ออกมาติดกับวัสดุแล้วตัวผู้ปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสม โดยที่ไข่ปลาบู่จะติดกับตอไม้ เสาไม้ หรือวัสดุอื่นๆ ที่ปลาบู่สามารถวางไข่ติดและตัวผู้จะเฝ้าดูแลไข่โดยใช้ครีบหูหรือครีบหางพัดโบกไปมา ไข่ที่ได้รับการผสมจะฟักเป็นตัวภายในเวลา 28 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 25-27 องศาเซลเซียส

4.4
ความดกของไข่ (fecundity)ปลาบู่เป็นปลาที่มีรังไข่แบบ 2 พู (bilobed) และจากการสุ่มนับจำนวนไข่ โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบความยาวลำตัวและน้ำหนักรังไข่ พบว่า ปลาบู่ที่มีความยาวมาตรฐาน (standard length) = 15.2 เซนติเมตร มีน้ำหนักรังไข่ 1.6 กรัม และมีไข่ทั้งสิ้น 6,800 ฟอง และปลาที่มีความยาว 21.5 เซนติเมตร มีน้ำหนักรังไข่และจำนวนไข่ = 4.7 กรัม และ 36,200 ฟอง ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีรายงานฉบับอื่นเพิ่มเติมอีกว่า แม่ปลาบู่ขนาดความยาว 21.0-27.5 เซนติเมตร และมีน้ำหนักระหว่าง 158-440 กรัม มีจำนวนไข่ 5,300-59,000 ฟอง

5.
การเพาะเลี้ยงปลาบู่ทราย
การเพาะเลี้ยงปลาบู่ นับวันจะประสบปัญหาเรื่องพันธุ์ปลาที่จะนำมาเลี้ยงมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เดิมการเลี้ยงปลาบู่ใช้วิธีช้อนลูกปลาตามรากหญ้า รากพันธุ์ไม้น้ำในลำคลอง หนองบึง แต่เนื่องจากสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมลงเป็นลำดับ และจากการจับปลาที่ใช้เครื่องมือผิดประเภทและจับมากเกินไป ในปัจจุบันการเลี้ยงปลาบู่ต้องการลูกปลาจำนวนมากในการเลี้ยงแต่ละครั้งและยังต้องมีขนาดใกล้เคียงกันอีกด้วย ทำให้ต้องหันมาเพาะเลี้ยงแทน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว การเพาะพันธุ์ปลาบู่เท่าที่ผ่านมามี 2 วิธี คือ 
1.
วิธีการฉีดฮอร์โมน และ
2.
วิธีการเลียนแบบธรรมชาติ 
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การเลี้ยงปลาบู่ส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงกันในกระชังมากกว่าเลี้ยงในบ่อดินและบ่อซีเมนต์ ดังนั้น ในเรื่องการเลี้ยงจะบรรยายเน้นหนักไปทางการเลี้ยงปลาบู่ในกระชัง



1.
การเพาะพันธุ์
ในอดีตการเพาะขยายพันธุ์ปลาบู่ด้วยวิธีฉีดฮอร์โมนผสมเทียมยังได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร และใช้เวลามากในการรอให้ปลาบู่วางไข่ในแต่ละครั้ง อีกทั้งไม่สามารถนำมาดำเนินการให้เป็นเชิงพาณิชย์ได้ เพราะมีความยุ่งยากในการจัดการ ต่อมาทางสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดปทุมธานีได้พัฒนาการเพาะพันธุ์ปลาบู่จนสามารถเป็นเชิงพาณิชย์ได้สำเร็จ โดยเน้นการเพาะพันธุ์วิธีเลียนแบบธรรมชาติ ซึ่งให้จำนวนรังไข่ได้มากกว่าวิธีการเดิม และสามารถอนุบาลลูกปลาบู่โดยการใช้อาหารธรรมชาติมีชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ในบทนี้จะกล่าวถึงวิธีการเพาะพันธุ์ปลาโดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งการอนุบาลด้วยอาหารธรรมชาติมีชีวิต ตามลำดับต่อไป



1.1
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
ในการเพาะขยายพันธุ์ปลาบู่ให้ได้ลูกปลาที่แข็งแรงเติบโตดีและให้ได้อัตรารอดสูงนั้น นอกจากวิธีการและเทคนิคการอนุบาลแล้ว ปัจจัยสำคัญเริ่มแรกอีกปัจจัยหนึ่งคือ การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่ดีซึ่งมีผลให้อัตราการฟักดี อัตราการรอดตายสูง และได้ลูกปลาที่แข็งแรง ดังนั้น พ่อแม่พันธุ์ปลาบู่ที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
1.
ควรเป็นปลาวัยเจริญพันธุ์ (mature) เพราะไข่ที่ได้มีอัตราการฟัก และอัตรารอดตายสูง
2.
พ่อแม่พันธุ์ควรมีน้ำหนักอยู่ในช่วง 300-500 กรัม แต่ไม่ควรเกิน 1 กิโลกรัม และไม่ควรเป็นปลาที่อ้วนหรือผอมเกินไป
3.
เมื่อจับพ่อแม่พันธุ์ขึ้นมาจากที่กักขังใหม่ๆ ควรรีบคัดปลาที่มีสีนวลปราดเปรียว และควรเป็นปลาที่ปรับสีสู่สภาพเดิมได้เร็วเมื่อหายตกใจ ไม่ควรคัดพ่อแม่พันธุ์ที่มีสีเหลืองซีดผิดปกติ
4.
เมื่อลูบตามตัวปลาจากหัวไปหางแล้ว รู้สึกตัวปลาลื่นแสดงว่าเป็นปลาที่มีสุขภาพดี
5.
บริเวณตาไม่ขาวขุ่น
6.
ไม่ใช้ปลาที่จับได้โดยการใช้ไฟฟ้าช็อร์ต เพราะเมื่อเลี้ยงไปสักระยะหนึ่งแล้วปลาจะตายมากหรือตายหมดทั้งกระชัง ซึ่งข้อนี้ยากต่อการตรวจสอบ เนื่องจากสภาพภายนอกของปลาไม่ค่อยมีบาดแผลชัดเจน
7.
ไม่มีพยาธิภายนอกหรือเชื้อราเกาะตามลำตัว ถ้ามีปริมาณไม่มากควรกำจัด รักษาและป้องกันก่อนนำไปทำเป็นพ่อแม่พันธุ์
8.
บริเวณครีบอก ครีบหู ครีบหาง และครีบท้องไม่ควรมีบาดแผลฉีกลึกถึงโคนครีบ
9.
ตามลำตัวไม่ควรมีบาดแผลถึงแม้จะเป็นบาดแผลเล็กๆ ก็ตาม เพราะจะทำให้ติดเชื้อโรคและลุกลามถึงตายในที่สุด ถ้าจำเป็นควรรักษาให้หายก่อนนำไปเป็นพ่อแม่พันธุ์




ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:

หนังสือพิมพ์เทคโนโลยีชาวบ้าน



 

read more "บู่ทราย บู่จาก บู่ทอง บู่เอื้อย บู่สิงโต"
 

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม