วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


                                          ปลากัดป่ามหาชัย (siamensis.org/ดร.อัครพงษ์ สวัสดิพงษ์)
“ปลากัดมหาชัย” สายพันธุ์เฉพาะที่พบเฉพาะใน 3 สมุทรคือ สมุทรปราการ สมุทรสงครามและสมุทรสงคราม รวมถึงบางส่วนของกรุงเทพมหานคร กำลังจะหายไปจากสายน้ำ ขณะที่นักวิทยาศาสตร์เพิ่งพบข้อมูลทางพันธุกรรมที่บ่งชี้ว่าปลาชนิดนี้เป็นสปีชีส์ใหม่สำหรับองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และไม่ใช่ปลาที่กลายพันธุ์จากการปลากัดสายพันธุ์อื่นสู่แหล่งน้ำ
                                        ภาพปลากัดป่ามหาชัยก่อหวอดในตู้เพาะเลี้ยง (ดร.อัครพงษ์ สวัสดิพงษ์) 
       ด้วยความสนใจส่วนตัวที่เคยเพาะเลี้ยงปลากัดในสมัยยังเด็ก ดร.อัครพงษ์ สวัสดิพงษ์ จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงนำความรู้ทางด้านชีววิทยาเข้าไปศึกษาและทำความเข้าใจปลากัด โดยรับทุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นระยะเวลา 1 ปีเพื่อศึกษาชีวิตปลากัด โดยทำควบคู่ไปกับงานวิจัยหลักในเรื่องการศึกษาปูม้าและปลาทู
       ทั้งนี้ ปลากัดมีอยู่หลายชนิดและพบได้ตั้งแต่จีนลงไปถึงอินโดนีเซีย แต่ ดร.อัครพงษ์เลือกศึกษา “ปลากัดป่ามหาชัย” ซึ่งเป็น 1 ในปลากัดป่า 4 ชนิดที่มีการก่อหวอดเพื่อวางไข่ โดยชนิดที่เหลือคือ ปลากัดป่าภาคกลาง ซึ่งพบในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปลากัดป่าภาคอีสาน ซึ่งพบในภาคอีสาน และปลากัดป่าภาคใต้ที่พบในภาคใต้ โดยทั้งหมดมีความเสี่ยงสูญพันธุ์ แต่ปลากัดป่ามหาชัยน่าห่วงที่สุดเพราะพบในพื้นที่แคบๆ และพบได้น้อย
       
                                           ภาพปลากัดป่ามหาชัย (บน) ตัวเมีย และ (ล่าง) ตัวผู้ (ดร.อัครพงษ์ สวัสดิพงษ์) 
       การศึกษาปลากัดป่ามหาชัยครอบคลุมเรื่องระบบนิเวศ การกระจายตัวของประชากร การขยายพันธุ์ และพันธุกรรม ซึ่งจากการศึกษาลึกลงไปในระดับดีเอ็นเอ ดร.อัครพงษ์พบว่าปลากัดป่ามหาชัยเป็นปลากัดที่แยกสายวิวัฒนาการจากปลากัดป่าภาคกลางมา 3-4 ล้านปีแล้ว และอยู่ก่อนคนไทยมาตั้งนาน ไม่ใช่ปลากัดที่กลายพันธุ์จากป่ากัดภาคกลางหรือหลุดจากการเพาะเลี้ยงสู่แหล่งน้ำอย่างที่เข้าใจ และยังเป็นปลากัดสายพันธุ์ใหม่สำหรับการศึกษาทางวิทยาศาสตร์อย่างแน่นอน แต่ขึ้นอยู่กับว่าจะได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการเมื่อไหร่
       
                                         ภาพแสดงถิ่นอาศัยของปลากัดชนิดหลักๆ 4 ชนิดตามแหล่งน้ำต่างๆ ในไทย (ดร.อัครพงษ์ สวัสดิพงษ์) 
       ทั้งนี้ ทีมวิจัยได้ออกสำรวจแหล่งที่อยู่อาศัยของปลากัดป่ามหาชัยทั้งในฤดูร้อนและฤดูฝนเพื่อดูระบบนิเวศและตรวจคุณภาพน้ำ ซึ่งบริเวณปลากัดชนิดนี้เป็นแหล่งน้ำจืดที่มีน้ำเค็มเข้ามาปนเล็กน้อย และยังพบว่ามีน้ำจากแหล่งอุตสาหกรรมบางส่วนปนเปื้อนเข้ามาด้วย ส่วนเรื่องอาหารนั้นพบว่าเมื่อมีขนาดเล็กจะกินแมลงเป็นอาหาร เมื่อโตขึ้นจะเริ่มกินแมลงผิวน้ำ และโตขึ้นอีกจะอาหารที่มีขนาดใหญ่ขึ้น รวมทั้งยังเศษซากพืชเข้าไปปนด้วย
       
                                         ทีมวิจัยลงสำรวจปลากัดป่ามหาชัย (ดร.อัครพงษ์ สวัสดิพงษ์) 
       นอกจากนี้ทีมวิจัยยังสามารถเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ปลากัดมหาชัยในตู้เพาะเลี้ยงได้ ซึ่งนับเป็นเรื่องท้าทายมาก เพราะลำพังแค่นำมาเลี้ยงในตู้และให้กินอาหารด้วยนั้น ดร.อัครพงษ์กล่าวว่าก็เป็นเรื่องยากแล้ว แต่ในกรณีนี้ยังพบว่าขยายพันธุ์ในที่เพาะเลี้ยงได้ด้วย อย่างไรก็ดี จำนวนปลากัดที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาตินั้นมีน้อยมาก นอกจากนี้แหล่งอาศัยที่เป็นแหล่งน้ำจืดและเป็นรอยต่อป่าชายเลนกำลังโดนรุกรานจากแหล่งอาศัยของมนุษย์
       “เรารู้จักปลากัดกันอย่างกว้างขวาง แต่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับปลาชนิดนี้น้อย เลือกศึกษาเรื่องนี้เพราะต้องการบอกว่าปลานี้เกิดมาก่อนคนนะ ถ้าคนคิดว่าเป็นปลาชนิดหนึ่งเฉยๆ งานวิจัยนี้ก็ไปต่อไม่ได้ เราอยากเห็นความหลากหลาย เห็นคนที่แตกต่างกัน ไม่ใช่ตื่นขึ้นมาแล้วเจอสิ่งที่เหมือนกันหมด” ดร.อัครพงษ์กล่าว
     
                                         การรักษาแหล่งอาศัยของปลากัดทำให้เรามีต้นทุนพัฒนาปลากัดสายพันธุ์ใหม่ๆ เพื่อการพาณิชย์ต่อไป (ดร.อัครพงษ์ สวัสดิพงษ์) 
       ทั้งนี้เป็นความเห็นที่สอดคล้องกับสิ่งที่ รศ.นสพ.ดร.วรวิทย์ วัชชวัลคุ จากคณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่กล่าวไว้ในการประชุมวิชาการเนื่องในวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เมื่อ 22-23 พ.ค.55 ที่ผ่านมาว่า ความหลากหลายทางชีวภาพนั้นทำให้สัตว์เราปรับตัวได้จากสิ่งแวดล้อมและโรคต่างๆ ได้ แต่หสกสูญเสียความหลากหลายทางพันธุกรรมก็หมายถึงเพิ่มความเสี่ยงในการสูญพันธุ์
       นอกจากนี้ ดร.อัครพงษ์ยังให้ความเห็นเรื่องแนวทางการอนุรักษ์ปลากัดที่เป็นสัญลักษณ์ของไทยว่า ในมุมของเขานั้นต้องปกป้องไม่ให้สิ่งมีชีวิตนั้นๆ สูญพันธุ์ ขณะเดียวกันก็ต้องนำไปใช้ด้วย อย่างกรณีปลากัดของไทยนี้เมื่อไหร่ที่ต้องการปลากัดพันธุ์ใหม่ ก็ต้องนำต้นพันธุ์จากธรรมชาติไปเพาะพันธุ์ ซึ่งหากเห็นเช่นนี้การอนุรักษณ์ปลากัดในธรรมชาติจะเป็นเรื่องง่าย เมื่อเทียบกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ...



ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
www.manager.co.th : 29 พฤษภาคม 2555 09:39 น.


read more "ปลากัดมหาชัย อยู่ก่อนไทยมา 3-4 ล้านปีแต่จะไม่เหลือแล้ว"

วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


   ปลาหมอเทศ (อังกฤษ: Mozambique tilapia, Three spotted tilapia) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oreochromis mossambicus อยู่ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีลักษณะรูปร่างทั่วไปคล้ายปลานิล (O. niloticus) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในวงศ์เดียวกันและสกุลเดียวกัน แต่ว่า ปลาหมอเทศมีรูปร่างที่เล็กกว่า มีปากกว่าที่ยื่นยาวกว่า และไม่มีลายบนครีบ

   มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา ถูกนำเข้าสู่ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2492 โดยผ่านมาจากปีนัง แต่ทว่า ความนิยมในการบริโภคของปลาหมอเทศสู้ปลานิลไม่ได้ เนื่อจากเนื้อค่อนข้างแข็ง ดังนั้น จึงมีราคาจำหน่ายที่ต่ำกว่าปลานิล

   ปลาหมอเทศเป็นปลาที่อดทดและโตเร็ว และเป็นแหล่งอาหารโปรตีนในประเทศที่กำลังพัฒนาในหลายๆ ประเทศมาเป็นเวลาอันยาวนาน
เมื่อเร็วๆ นี้ ปลาหมอเทศได้กลายมาเป็นที่นิยมกันในประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งรวมถึงประเทศอเมริกาด้วย โดยปลาหมอเทศได้ขึ้นติดอันดับที่แปดของอาหารทะเลที่มีการบริโภคกัน  ปลาหมอเทศ เป็น ปลาน้ำจืด อีก หนึ่งชนิด ของบ้านเรา ซึ่งตอนนี้ จากการเก็บข้อมูล พบว่า จำนวน ประชากร ของปลาชนิดนี้ ตามห้วย หนอง คลอง บึง ต่างๆ ได้ลดจำนวนลงน้อยกว่า ในอดีต เป็นอย่างมาก เนื่องด้วยสาเหตุ หลายอย่าง เช่น ความมักง่ายนเรื่องการกำจัดของเสีย ทำให้ จำวนน้ำเสีย ที่ถูกปล่อยลง แหล่งน้ำ ธรรมชาติ ปรมาณเพิ่มตามไปด้วย จากสาเหตุ ที่กล่าวมา ทำให้ แหล่งน้ำสาธารณะ เกิดการเน่าเสีย ส่งผลกระทบโดยตรง ต่อ ปลาหมอเทศ

ข้อมูล ทั่วๆไปของปลาหมอเทศ
ลักษณะทั่วไปเป็นปลาน้ำจืดที่นำเข้ามาเลี้ยงในประเทศ มีรูปร่างคล้ายปลาหมอไทย แต่ส่วนลำตัวและหัวใหญ่กว่า จะงอยปากค่อนข้างยาว ปากกว้าง ริมปากหนา ขากรรไกรล่างยาวกว่าขากรรไกรบน ครีบหลังยาวและสูง ส่วนที่เป็นก้านครีบแข็งยาวกว่าส่วนก้านครีบอ่อนมาก ครีบก้นยาว ครีบหางมีขนาดใหญ่ปลายมน ครีบท้องอยู่ใกล้ครีบหู มีขนาดใกล้เคียงกัน ด้านหลังมีสีเทาปนดำ ข้างลำตัวสีน้ำตาลอ่อน ท้องเหลืองจาง ๆ ตัวผู้มีขนาดใหญ่น้ำเงินปนดำ ตัวเมียเล็กกว่าและสีซีดจาง ในการผสมพันธุ์วางไข่ ตัวเมียฟักไข่ด้วยปาก ถิ่นอาศัยในแม่น้ำ ทะเลสาบ เดิมถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา อาหารกินพืชน้ำ สาหร่าย ซาก


ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
http://www.asc-aqua.org
http://thaifishs.net
กรมประมง
http://www.fisheries.go.th
http://www.fishing108.com


read more "ปลาหมอเทศ"

   กระสูบเป็นปลาไทยๆ ที่น่าเลี้ยงชนิดหนึ่งครับราคาถูก หาง่ายและมีความโหดในแบบของตัวเอง
ปลากระสูบที่พบบ่อยได้แก่กระสูบขีด และกระสูบจุด ขนาดโดยทั่วไปอยูที่ 30-60 cm ครับ
นิสัยที่ขาโหดน่าจะชอบคือมันชอบรวมกลุ่มกันล่าเหยื่อครับโดยมันเหมาะที่จะเลี้ยงเป็นฝูง
มันเหมือนปลาตะเพียนกินเนื้อแหละครับมันชอบกลุ้มรุมตอดเหยื่อหรือกินไปทั้งตัวถ้าเหยื่อตัวเล็ก
เหมาะสำหรับคนชอบปลาฝูงครับแนะนำให้เลี้ยงในบ่อจะดีกว่า แล้วด้วยความตะกละของมัน
ทำให้มันเป็นปลาที่นักตกปลาชอบกันมาก อีกทั้งมันยังกินได้ โดยเมนูแนะนำคือต้มส้มครับ


                                          ปลากระสูบจุด

ปลากระสูบจุด (อังกฤษ: Eye-spot barb, Spotted hampala barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hampala dispar อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) วงศ์ย่อย Cyprininae มีลักษณะรูปร่างค่อนข้างยาว แบนข้างเล็กน้อย หัวยาว ปากกว้างมาก มีหนวดสั้น 1 คู่ที่ริมฝีปาก ครีบหลังค่อนข้างเล็ก ครีบหางเว้าลึก เกล็ดค่อนข้างใหญ่ ตัวมีสีเงิน ด้านหลังสีคล้ำอมน้ำตาล ด้านท้องสีจาง ด้านข้างลำตัวมีจุดสีคล้ำข้างละหนึ่งดวง ครีบมีสีแดงเรื่อ ครีบหางมีสีแดงไม่มีแถบสีคล้ำ พบทุกภาคของประเทศ และพบได้ถึงมาเลเชียและบอร์เนียว มีขนาดประมาณ 25 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 35 เซนติเมตร     เป็นปลานักล่า กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร บริโภคโดยปรุงสด และทำปลาร้า ปลาส้ม และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

                                          ปลากระสูบขีด

ปลากระสูบขีด (อังกฤษHampala barb, Tranverse-bar barb) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hampala macrolepidota อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลากระสูบจุด (H. dispar) แต่ด้านข้างลำตัวมีแถบขวางบริเวณใต้ครีบหลังลงมาถึงท้อง ในปลาขนาดเล็กมีแถบ 2 แถบที่กลางลำตัวและโคนหาง และมีแถบใต้ตาด้วย ครีบมีสีคล้ำแดงเรื่อ ขอบบนและขอบล่างของครีบหางมีแถบสีคล้ำ มีขนาดใหญ่กว่าปลากระสูบจุดซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน คือ สามารถยาวได้ถึง 30 เซนติเมตร หรือ 70 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดใหญ่เต็มที่
พบมากในแม่น้ำโขง และพบบ้างในแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะพบได้มากกว่าปลากระสูบจุด[1]
เป็นปลากินเนื้อ จัดเป็นปลานักล่าชนิดหนึ่ง มักไล่จับปลาขนาดเล็ก เช่น ปลาซิว ปลาวัยอ่อน รวมถึงแมลงน้ำต่าง ๆ ในแม่น้ำและหนองบึงต่าง ๆ เป็นที่นิยมของนักตกปลาทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นโดยใช้เหยื่อปลอม บริโภคด้วยการปรุงสด หรือทำปลาร้า ปลาส้ม เป็นต้น และยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย
ปลากระสูบขีดมีชื่อเรียกทางภาษาอีสานว่า "สูบ", "สูด", "สิก" หรือ "ขม" เป็นต้น
ปลากระสูบ
อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน ลำตัวค่อนข้างยาว ด้านข้างแบนท้องกลมมน จะงอยปากแหลม ปากกว้างและเอียงขึ้นเล็กน้อย มีหนวดที่มุมปาก 1 คู่ ครีบหลังอยู่ตรงข้ามกับครีบท้อง มีเกล็ดใหญ่ สีของตัวจะเป็นสีขาวเงิน มีลายดำพาดขวางลำตัว หางสีแดงสด ครีบสีแดงหรือสีส้ม มีขนาด 20-50 เซนติเมตร  กินลูกปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร  เป็นปลาที่ว่องไว ปราดเปรียวและตื่นตกใจง่าย โดยทั่วไปมีนิสัยก้าวร้าวไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยงรวมกับชนิดอื่นเพราะแม้แต่พวกเดียวกันเอง ถ้ามีขนาดแตกต่างกันหากนำมาเลี้ยงรวมกันจะกัดกันเอง...


ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
กรมประมง
http://www.fisheries.go.th
http://www.fishing108.com



read more "ปลากระสูบ"

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2555



ชื่อ ปลาตะพาก
ชื่อสามัญ Golden belly barb
ชื่อวิทยาศาสตร์ Puntius daruphani
ลักษณะ
ปลาตะพาก มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียนขาว มีลำตัวสีเหลืองทอง ส่วนหลังจะมีสีเข้มเป็นสีน้ำเงินอมเขียว ครีบหลังและครีบหางสีสันแกมเขียว ครีบท้องสีส้มหรือสีเหลือง จะผสมพันธุ์ราวเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ปลาตะพากจะกินพืชน้ำแมลงและตัวอ่อน ขนาดลำตัวยาวประมาณ ๒๐ - ๓๐ เซนติเมตร
แหล่งที่พบ
อยู่ตามแหล่งน้ำไหลเชี่ยว ลึกประมาณ ๒ - ๓ เมตร เป็นพื้นที่กรวดทราย พบตามลำน้ำปิง
ความสัมพันธ์กับชุมชน
ปลาตะพาก เป็นปลาที่หาได้ง่ายในแหล่งน้ำทั่วไป ชาวบ้านนิยมตกปลาตะพากมาเป็นอาหาร เนื้อมีรสชาดดี ภัตตาคารในกำแพงเพชรจะมีเมนูปลาตะพาก ปัจจุบันเริ่มที่จะนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
เป็นอาหารของชุมชนและจำหน่ายในตลาดทั้งในเมืองและชุมชน สร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้าน




ตะพาก เป็นชื่อของปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypsibabus wetmorei มีลักษณะลำตัวยาวรีและแบนข้าง มีเกล็ดขนาดค่อนข้างใหญ่เป็นมันแวววาว 


พื้นลำตัวสีขาวเงิน แผ่นหลังสีเขียวอมน้ำตาล มีครีบทั้งหมด 7 ครีบ ครีบอก ครีบท้องและครีบก้นสีเหลือง ปลายขอบครีบและหางสีส้ม หางเป็นเว้าแฉกลึก ครีบหลังและครีบหางสีเทาหม่น   ปลาขนาดใหญ่เกล็ดใต้ท้องเป็นสีเหลืองอร่าม มีหนวดขนาดเล็ก 2 คู่ อยู่ที่ขากรรไกรบนล่าง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 ซ.ม. พบใหญ่ที่สุดยาว 66 ซ.ม. หนัก 8 ก.ก. อาหารกินได้หลากหลายเช่น พืชน้ำ แมลงน้ำ รวมถึงสัตว์น้ำขนาดเล็กด้วย  อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วและว่ายน้ำเคลื่อนไหวตลอดเวลา ขยายพันธุ์โดยการวางไข่ระหว่างเดือนมีนาคม-ตุลาคม ไข่มีลักษณะกึ่งลอย กึ่งจม การวางไข่ครั้งหนึ่งจะมีปริมาณไข่นับเป็นแสน ๆ ฟอง และมีพฤติกรรมการผสมพันธุ์หมู่


   อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงแม่น้ำโขง เป็นปลาเศรษฐกิจ นิยมบริโภคโดยการปรุงสด รมควัน และต้มเค็ม และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ตะพากมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า กระพาก, พาก, สะป๊าก, ปากคำ, ปากหนวด, ปีก เป็นต้น ตะพากยังเป็นชื่อเรียกของปลาที่ลักษณะ ใกล้เคียงกันชนิดอื่นอีก 8 ชนิดด้วยกัน ยกตัวอย่าง เช่น


ตะพากปากหนวด




   ตะพากชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypsibarbus vernayi มีรูปร่างและขนาดใกล้เคียงตะพากชนิดแรก แต่ต่างกันตรงที่ครีบก้นไม่ยาวถึงโคนหางเหมือนตะพากชนิดแรก ครีบและหางเป็นสีแดงเข้มหรือสีส้ม และถิ่นที่อยู่พบในภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคกลางแถบ จังหวัดเพชรบุรี, ราชบุรี พบน้อยกว่าตะพากชนิดแรก คือพบเป็นบางฤดูกาลเท่านั้น ตะพากชนิดนี้มีชื่อเรียกในเขตแม่น้ำน่านว่า "ปีกแดง" ซึ่งในช่วงฤดูฝนจะมีปรากฏการณ์ ตะพากปีกแดงว่ายทวนน้ำขึ้นมาเพื่อผสมพันธุ์และวางไข่เป็นจำนวนมากกองสุมรวมกัน ซึ่งชาวบ้านเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "ปลากอง"


ตะพากส้ม




ตะพากชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypsibarbus malcolmi มีรูปร่างและขนาดใกล้เคียงตะพากชนิด Hypsibabus wetmorei แต่ต่างกันตรงที่ครีบก้นมีลักษณะโค้งเหมือนเคียว 


ครีบและหางเป็นสีแดงหรือสีส้ม รูปร่างอ้วนป้อมกว่า พบบ่อยในแม่น้ำโขง และแม่น้ำแม่กลอง ตะพากชนิดนี้มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "จาด" เป็นต้น


ตะพากสาละวิน


ตะพากชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypsibarbus salweenensis มีขนาดเล็กกว่าตะพาก 2 ชนิดแรก กล่าวคือ มีขนาดประมาณ 20-40 ซ.ม. มีความแตกต่างคือ ครีบหลังยกสูงตอนปลายมีสีดำ มีก้านครีบแข็งที่อันที่ 2 หยักที่ขอบด้านท้าย ครีบก้นสูงและมีฐานครีบสั้น 
เกล็ดไม่มีสีเหลืองเหมือนตะพาก 2 ชนิดแรก และมีรูปร่างที่ยาวกว่าตะพากหรือตะเพียนชนิดอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด มีพฤติกรรมที่ไม่ทราบแน่นอน และพบเฉพาะลุ่มน้ำสาละวินในภาคตะวันตกเท่านั้น
      
ปลาตะพากเหลือง หรือ ปลาตะพากทอง (อังกฤษ: Goldenbelly barb) เป็นปลาน้ำจืดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypsibarbus wetmorei ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ลักษณะลำตัวยาวรีและแบนข้าง มีเกล็ดขนาดค่อนข้างใหญ่เป็นมันแวววาว พื้นลำตัวสีขาวเงิน แผ่นหลังสีเขียวอมน้ำตาล มีครีบทั้งหมด 7 ครีบ ครีบอก ครีบท้องและครีบก้นสีเหลืองสด ปลายขอบครีบและหางสีส้ม หางเป็นเว้าแฉกลึก ครีบหลังและครีบหางสีเทาหม่น ปลาขนาดใหญ่เกล็ดใต้ท้องเป็นสีเหลืองอร่าม มีหนวดขนาดเล็ก 2 คู่ อยู่ที่ขากรรไกรบนล่าง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดยาว 66 เซนติเมตร หนัก 8 กิโลกรัม อาหารกินได้หลากหลายเช่น พืชน้ำ, แมลงน้ำ รวมถึงสัตว์น้ำขนาดเล็กด้วย


อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วและว่ายน้ำเคลื่อนไหวตลอดเวลา ขยายพันธุ์โดยการวางไข่ระหว่างเดือนมีนาคม-ตุลาคม ไข่มีลักษณะกึ่งลอย กึ่งจม การวางไข่ครั้งหนึ่งจะมีปริมาณไข่นับเป็นแสน ๆ ฟอง และมีพฤติกรรมการผสมพันธุ์หมู่
 
   อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงแม่น้ำโขง รวมถึงลำธารน้ำตกในป่าดิบ เป็นปลาเศรษฐกิจ นิยมบริโภคโดยการปรุงสด รมควัน และต้มเค็ม และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย รับเป็นปลาในสกุลปลาตะพากที่เป็นที่รู้จักและแพร่หลายที่สุด จึงนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า "ตะพาก" และถือเป็นปลาประจำจังหวัดกำแพงเพชร...

ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
http://www.fisheries.go.th
http://www.fishing108.com

read more "ปลาตะพากเหลือง"






   ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาพื้นเมืองและเป็นปลาที่คนไทยทั่วทุกภาค ของประเทศรู้จักปลาตะเพียนขาวมีชื่อสามัญหรือภาษาอังกฤษว่า Jawa หรือ carp มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Puntius gonionotus (Bleeker) เป็นปลาที่สามารถ นำมาเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์ได้ง่ายจึงเป็นปลาพื้นเมืองที่ได้รับการคัดเลือกให้ ส่งเสริมในการเพาะเลี้ยงชนิดหนึ่ง ในด้านโภชนาการนั้นเป็นปลาที่ได้รับ ความนิยมอย่างกว้างขวางในหมู่คนไทยทั้งในเมืองและชนบท
   การเพาะเลี้ยงปลาตะเพียนขาวได้ดำเนินการเป็นครั้งแรกก่อนปี พ.ศ. 2503 ที่สถานีประมง (บึงบอระเพ็ด)นครสวรรค์ต่อมาการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้รับการพัฒนาทั้งวิธีเลียนแบบธรรมชาติและผสมเทียมซึ่งสามารถเผยแพร่และจำหน่ายอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน


แหล่งกำเนิดและการแพร่กระจาย


ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่แถบแหลมอินโดจีนชวาไทยสุมาตราอินเดียปากีสถานและยังมีชุกชุมในถิ่นดังกล่าว สำหรับประเทศไทยเรานั้นมีอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำธรรมชาติ อันได้แก่ แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึงต่าง ๆ ทั่วทุกภาคของประเทศ




อุปนิสัยและคุณสมบัติบางประการ


1. ความเป็นอยู่ 
ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาที่หลบซ่อนอยู่ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ที่มีกระแสน้ำไหลอ่อนๆ หรือน้ำนิ่ง เป็นปลาที่ทนต่อสิ่งเปลี่ยนแปลงและ สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ทั้งยังเจริญเติบโตในน้ำกร่อยที่มี ความเค็มไม่เกิน 7 ส่วนพัน อุณหภูมิเหมาะสมสำหรับปลาชนิดนี้อยู่ระหว่าง 25 - 33 องศาเซลเซียส 
2. นิสัยการกินอาหาร 
2.1 ระบบการกินอาหาร การตรวจสอบระบบการกินอาหารของ ปลาตะเพียนขาว ขนาด 12.5 - 25.5 เชนติเมตร พบว่า มีฟันในลำคอ (Pharyngeal teeth) เป็นชนิดกัดบดแบบสามแถว มีซี่เหงือกสั้นๆ อยู่ห่างกัน พอประมาณ ท่อทางเดินอาหาร กระเพาะอาหารไม่มีลักษณะแตกต่างจากลำไส้ ลำไส้มีผนังบาง ๆ ยาวขดเป็นม้วนยาว 2.02 - 2.73 เท่า ความยาวสุดของลำตัว 
2.2 นิสัยการกินอาการ กล่าวกันว่าลูกปลาตะเพียนขาววัยอ่อน กินสาหร่ายเซลล์เดียวและแพลงก์ตอนขนาดเล็ก ส่วนพวกปลาขนาด 3 - 5 นิ้ว กินพวกพืชน้ำ เช่น แหนเป็ด สาหร่ายพุงชะโด ผักบุ้ง สำหรับปลาขนาด ใหญ่สามารถกินใบพืชบก เช่น ใบมันเทศ ใบมันสำปะหลัง หญ้าขน ๆลๆ พบว่าปลาตะเพียนขาวหาอาหารกินในเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน 
3. การแยกเพศ
ลักษณะภายนอกของปลาตัวผู้คล้ายคลึงกันมากแต่เมื่อใกล้ผสมพันธุ์ จะสังเกตได้ง่ายขึ้นคือ ตัวเมียจะมีท้องอูมเป่งพื้นท้องนิ่มและรูก้นกว้างกว่าปกติ ส่วนตัวผู้ท้องจะแบนพื้นท้องแข็ง ถ้าเอามือลองรีดเบาๆ ที่ท้องจะมีน้ำสีขาวขุ่น คล้ายน้ำนมไหลออกมา หากเอามือลูบตามแก้มจะรู้สึกสากมือ


เลี้ยงปลาตะเพียนขาว


                                         ปลาตะพากลักษณะคล้ายปลาตะเพียน
ปลาตะเพียน ชื่อเต็ม ๆ ของมันคือ ปลาตะเพียนขาว (นอกจากตะเพียนขาวแล้วยังมีตะเพียนชนิดอื่นอีก เช่น ตะเพียนหางแดง เป็นต้น) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งอาศัยอยู่ทั่วไปทั้งในแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง แต่เจริญเติบโตขยายพันธุ์ได้ในแหล่งน้ำซึ่งมีความกร่อยเล็กน้อย ฉะนั้นจึงสามารถเลี้ยงให้เจริญเติบโตได้ทั้งในบ่อน้ำจืดและน้ำกร่อย อ่างเก็บน้ำ ตลอดจนในนาข้าว
    ข้อมูลจากกรมประมงระบุว่า แม่ปลาตะเพียนขาวตัวหนึ่ง ๆ สามารถมีไข่ได้ตั้งแต่ 50,000-100,000 ฟอง และชอบวางไข่ตามบริเวณชายฝั่งของลำธารเล็ก ๆ ที่ไหลลงมารวมกับลำธารใหญ่ซึ่งมีสภาพเป็นโคลน ปลาตะเพียนขาวสามารถวางไข่ในบ่อเลี้ยงได้ภายในปีแรก เมื่อแม่ปลามีขนาดตัวยาว 25 ซม.
      การนำปลาตะเพียนขาวมาเลี้ยงในบ่อนั้น บ่อเลี้ยงควรเป็นบ่อดินซึ่งมีขนาด 400 ตารางเมตรขึ้นไปจนถึงขนาด 1 ไร่ หรือมากกว่านั้น ความลึกของน้ำในบ่อควรให้เกินกว่า 1 เมตรขึ้นไป ใช้เลี้ยงลูกปลาที่มีขนาดความยาว 5-7 เซนติเมตร หากปลาที่ปล่อยลงเลี้ยงมีขนาดโตกว่านั้นควรปล่อยในอัตรา 2-3 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร


   
การเตรียมบ่อ หากเป็นบ่อที่ขุดใหม่ ดินมักจะเป็นกรด ควรใช้ปูนขาวโรยให้ทั่วบ่อ ในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 10 ตารางเมตร หากเป็นบ่อเก่า จำเป็นต้องปรับปรุงบ่อ โดยกำจัดวัชพืชออกให้หมด เช่น ผักตบชวา จอก บัว และหญ้าต่าง ๆ เพราะวัชพืชเหล่านี้จะปกคลุมผิวน้ำเป็นอุปสรรคต่อการหมุนเวียนของอากาศ และเป็นที่อยู่อาศัยของศัตรูได้ คันบ่อควรลอกเลนขึ้นมาตกแต่ง และทำท่อระบายน้ำให้เรียบร้อย ตากบ่อนั้นทิ้งไว้จนแห้ง แสงแดดจะช่วยกำจัดเชื้อโรคและช่วยให้คุณภาพของดินในบริเวณบ่อมีคุณสมบัติดีขึ้น ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง ต้องกำจัดศัตรูของปลาตะเพียน ได้แก่ พวกปลากินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาดุก กบ เขียด และงู ฯลฯ โดยการระบายน้ำออกจากบ่อให้แห้งขอดแล้วจับขึ้นให้หมด ในกรณีที่ไม่สามารถระบายน้ำออกได้ ควรใช้โล่ติ๊นสด 1 กิโลกรัม ต่อปริมาณน้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร วิธีใช้คือทุบหรือบดโล่ติ๊น   ให้ละเอียด นำลงแช่น้ำสัก 1 หรือ 2 ปี๊บ ขยำโล่ติ๊นเพื่อให้สีขาวออกมาหลาย ๆ ครั้งจนหมด แล้วนำไปสาดให้ทั่วบ่อ ศัตรูพวกปลาดังกล่าวก็จะตายลอยขึ้นมา ต้องเก็บออกทิ้งอย่าปล่อยให้เน่าอยู่ในบ่อเพราะจะทำให้น้ำเสียได้ ก่อนที่จะปล่อยปลาลงเลี้ยง ควรทิ้งระยะไว้ประมาณ 7-10 วัน เพื่อให้ฤทธิ์ของโล่ติ๊นสลายตัว




แม้ไม่ใช่การปลูกพืชแต่การเลี้ยงปลาตะเพียนต้องใส่ปุ๋ย เพื่ออะไร ที่ใส่ปุ๋ยก็เพื่อให้มีอาหารธรรมชาติเกิดขึ้น ปุ๋ยที่ว่านั้นคือ ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งได้แก่ปุ๋ยคอกที่ตากแห้งแล้ว หรือปุ๋ยหมัก อัตราการใส่ปุ๋ยประมาณ 50-200 กิโลกรัมต่อไร่ ระยะแรกนั้นควรใส่ปุ๋ยในขณะที่ตากบ่อก่อนระบายน้ำเข้า ระยะหลัง ๆ ควรใส่ในอัตราครั้งละครึ่งหนึ่งของระยะแรก จนกระทั่งน้ำมีสีเขียว ลักษณะเช่นนี้แสดงว่ามีอาหารธรรมชาติเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ อาจหาซื้อได้ในรูปที่ผสมเสร็จแล้ว โดยมีอัตราส่วนของฟอสฟอรัสสูงกว่าส่วนผสมอื่น และใช้ในอัตรา 4 กิโลกรัมต่อไร่ต่อเดือน


   ปลาที่จะเลี้ยงจนโตได้ขนาดตามที่ต้องการ นอกจากใช้อาหารธรรมชาติซึ่งมีอยู่ในบ่อ ผู้เลี้ยงจำเป็นต้องให้อาหารสมทบเพิ่มเติม เพื่อเป็นการเร่งให้ปลามีอัตราการเจริญเติบโตเร็วขึ้น อาหารสมทบดังกล่าวได้แก่ แหนเป็ดและไข่น้ำ (ไข่น้ำเป็นพืชที่เกิดขึ้นลอยอยู่บนผิวน้ำปะปนกับพวกจอกแหน มีลักษณะเป็นเม็ดกลม ๆ ขนาดเท่า ๆ กับสาคูเม็ดเล็กที่ยังไม่แช่น้ำ มีสีค่อนไปทางเขียวอ่อน ชาวอีสานเรียกว่า “ผำ”) ใช้โปรยให้กินสด ๆ เศษผัก ผักบุ้ง ผักกาดขาว และเศษผักต่าง ๆ โดยวิธีต้มให้เปื่อยผสมกับรำหรือปลายข้าวที่ต้มสุก กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง ใช้แขวนหรือใส่กระบะไม้ไว้ในบ่อ ส่วนอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ หรือสัตว์ที่มีชีวิต เช่น ตัวไหม ปลวก ไส้เดือน หนอน มด ฯลฯ ใช้โปรยให้กิน พวกเครื่องในและเลือดของสัตว์ต่าง ๆ เช่น หมู วัว ควาย ใช้บดผสมคลุกเคล้ารำและปลายข้าวซึ่งต้มสุกแล้ว นำไปใส่ไว้ในกระบะไม้ในบ่อ การให้อาหาร ให้วันละครั้ง ในตอนเช้าหรือตอนเย็น ครั้งละประมาณ 5% ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยง ถ้าให้มากเกินไป เศษอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย
    ลูกปลาจะเจริญเติบโตไม่เท่ากัน จำเป็นต้องคัดปลาที่มีขนาดไล่เลี่ยเลี้ยงในบ่อเดียวกัน เพราะถ้าเลี้ยงรวมกัน จะทำให้ลูกปลาที่เล็กกว่าเติบโตได้ไม่เท่าที่ควร และเมื่อปลามีขนาดโตขึ้น ต้องแบ่งไปเลี้ยงบ่ออื่นอย่าปล่อยให้อยู่แน่นเกินไป เพราะปลาจะไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ปลาตะเพียนขาวซึ่งใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 6 เดือนนั้น จะมีน้ำหนักประมาณ 3-4 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม



ปลาตะเพียนขาว นักตกปลาทั่วไปคงใช้ รำข้าว ขนมปังปั่น ผสมน้ำตก แต่ที่ตกกันยังมีอีกสองอย่างที่เป็นเหยื่อตกคือ ผักชี และอีกหย่างที่นักตกปลาอาชีพใช้คือต้นหญ้าขนจะเป็นพุ่มกอความสูงเมื่อโตประมาณ 1ฟุตกว่าๆ
เทคนิคการตกตะเพียนขาว  อย่างที่คลองดำเนินสะดวกหรือคลองทั่วๆไป ผูกเบ็ดแล้วใส่ทุ่นลอยครับเกี่ยวผักชีทุ่นที่ใช้กันเลยในอดีตก็ก้านต้นปอครับตอนนี้ใช้โฟมดีที่สุดหาง่ายทำเป็นท่อนกลมยาวประมาณ 2 นิ้ว ความลึกของทุ่นไม่เกิน 1 ฟุต เวลาปลาเข้ากินก็สังเกตุทุ่นพอทุ่นจมตวัดคันได้เลยแล้วทีนี้ก็มาถึงพรานอาชีพใช้ต้นหญ้าขนจะงามมากๆตอนหน้าฝน ซึ่งก็ตรงกับช่วงที่เหมาะจะตกปลาตะเพียนขาว ผูกติดกับไม้ไผ่เล็กๆหรือต้นอ้อก็ได้โดยผูกมัดเป็นกำใหญ่หน่อยเวลาผูกเอาทางด้านยอดของต้นหญ้าหันลงก้นคลอง 45 องศา แล้วปักลงตงชายกอหญ้าริมคลองหรือกอผักตบชวา ให้หญ้าที่อ่อยจมน้ำลึกประมาณ 1 ฟุตครึ่ง ทิ้งไว้ประมาณ ครึ่งชั่วโมงถ้ามีตัวปลาจะเริ่มเข้ามากินให้ดูจากการโยกของไม้ไผ่หรือต้นอ้อใช้ต้นหญ้าต้นเล็กๆหรือยอดอ่อนมาเกี่ยวเบ็ดวางทุ่นลึกประมาณ 1 ฟุต หย่อนลงใกล้ๆกับเหยื่อล่อ พอทุ่นจมก็ตวัดเบ็ดได้เลยพรานอาชีพจะอ่อยเหยื่อ 2 ที่แล้วเปลี่ยนสลับตกไปเรื่อยๆโดยอ่อยไม่ห่างกันมากนักในอดีตใช้เรือพายตกนะครับปัจจุบันก็ยังมีตกอยู่แต่น้อยคนลง เพราะพรานปลาอาชีพก็น้อยลงตอนนี้เป็นตาข่ายครับดักเลยแต่มันก็คนละอารมณ์กันพรานอาชีพในที่นี้ก็คนที่เป็นช่วงว่างจากการทำสวนหรือรับจ้างถ้าเป็นปลาตัวใหญ่ๆเมื่อติดเบ็ดแล้วต้องลากเข้ามาใกล้ๆเรือแล้วช้อนขึ้นมาแต่เป็นตัวเล็กๆตวัดเบ็ดก็ลอยขึ้นเรือเลย


ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:


http://www.fisheries.go.th
http://www.fishing108.com


read more "ปลาตะเพียนขาว"

ปลาหมอไทย (Climbing perch)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Anabas testudineus (Bloch)
ปลาหมอ เป็นปลาที่รู้จักและนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลาย ทั่วทุกภาคของ ประเทศไทยเนื่องจากปลาที่มีรสชาติ เป็นปลาที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและ ต่างประเทศ ในขณะที่ผลผลิตปลาหมอไทยส่วนใหญ่ได้มาจากการทำประมง จากแหล่งน้ำ ธรรมชาติ ปัจจุบันมีเกษตรกรเลี้ยงปลาหมอไทยเป็นอาชีพกันมากขึ้น โดยเฉพาะใน พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
   ปลาหมอ ปลาน้ำจืดพันธุ์พื้นเมืองของไทยแต่โบราณที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำ ธรรมชาติ ทั้งตามคู คลอง ท้องนา และแม่น้ำลำคลอง   ปลาหมอนิยมกินกันมากแทบ ทุกภาค เพราะเนื้อปลามีรสหวานมันอร่อย แต่ละท้องถิ่นก็เรียกชื่อต่างกัน ไป  ภาคอีสานจะเรียกว่า “ปลาแข็ง”  ภาคเหนือ เรียกว่า “ปลาสะเด็ด”  ภาคใต้ ตอนล่างเรียกเป็นภาษายาวีว่า “อีแกปูยู”  แต่คนทั่วไปรู้จักและเรียกกัน ว่า “ปลาหมอ”
ปลาหมอเป็นปลาที่มีลำตัวยาวแบน เมื่อโตเต็มที่มีขนาดไม่ใหญ่ มาก ลำตัวกว้างสักสามนิ้วมือเรา  ยาวประมาณ 10-15 ซม.  มีเกล็ดสีน้ำตาล ดำ  ท้องมีสีเหลืองอ่อน  ครีบหางมีจุดดำ  เป็นปลาที่ทนต่อสภาพแวดล้อม ต่างๆได้ดี  เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษที่ช่วยในการหายใจ ชอบปีนป่ายขึ้นมายาก ฝนตก ว่ายทวนน้ำเพื่อไปหาอาหาร และชอบขึ้นมาพ่นน้ำปุดๆ เมื่อน้ำนิ่ง จึงทำ ให้มันติดเบ็ดได้ง่ายดายกว่าปลาอื่นๆ จนนำมาเป็นสำนวนไทยที่ว่า “ปลาหมอตาย เพราะปาก” ซึ่งแปลว่าคนที่พูดพล่อยๆจนเป็นอันตรายแก่ตนเอง




   ปลาหมอไทย เนื้อปลาจะหวานมันเป็นพิเศษ ในช่วงเริ่มเก็บเกี่ยว ข้าวใหม่ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนกุมภาพันธุ์ ในตลาดสดขายประมาณ กิโลกรัมละ 40-50 บาท แล้วแต่ขนาดตัวปลาและแหล่งที่ขาย ถ้าเป็นตามต่าง จังหวัดก็ถูกหน่อย และหาซื้อกินได้ง่าย แต่ในกรุงเทพจะเห็นมีเป็นบางตลาด เท่านั้น อย่างตลาดสะพานสูงตรงบางซื่อ ที่แม่ค้าจากจังหวัดนครปฐม และ อยุธยา รับปลามาขาย ตลาดสะพานสอง ก็มีเป็นบางวัน
   วิธีการกินปลาหมอแบบที่อร่อยและทำง่าย กินกันมานมนานแต่โบราณก็ คือเพียงเอามาปิ้ง มาย่างทั้งเกล็ด ด้วยเตาถ่าน ใช้ไฟอ่อนๆ ไม่นานเกินรอ ก็ ได้กินปลาหมอย่างร้อนๆ กินทั้งเนื้อทั้งเกล็ดก็ยิ่งอร่อย แต่อย่ากินเพลินจน ก้างติดคอ เพราะปลาหมอไทยมีก้างเยอะพอๆ กับปลาตะเพียนเลยทีเดียว  หรือเอา ปลาหมอไปทำกับข้าวจานเด็ดอย่าง ฉู่ฉี่ปลาหมอ  แกงส้มปลาหมอ  ต้มส้มปลา หมอ  หรือจะบั้งถี่ๆ ทอดกรอบกินทั้งเนื้อ ทั้งก้าง ก็อร่อยไปอีกแบบ


แหล่งที่อยู่อาศัย
ปลาหมอไทย อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วๆไป ในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ปลาหมอไทย สามารถปรับตัวเจริญเติบโตเข้ากับสภาพแวดล้อม
ที่เป็นน้ำกร่อยที่มีความเค็มไม่เกิน 7 ส่วนในพันได้ เป็นปลาที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ
ปลาหมอไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นเช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า ปลาสะเด็ด ภาคเหนือ เรียกว่า ปลาแข็ง และภาคใต้
เรียกชื่อเป็นภาษายาวีว่า อีแกปูยู ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ปลาหมอ


รูปร่างลักษณะภายนอก
ปลาหมอไทยมีลำตัวค่อนข้างแบนลำตัวมีสีน้ำตาลดำ หรือคล้ำ ส่วนท้องมีสีขาวหรือเหลืองอ่อนส่วนลำตัวมีเกล็ดแข็ง กระพุ้งแก้มมีลักษณะเป็นหนามหยัก แหลมคม ใช้ในการปีนป่าย บริเวณโคนหางมีจุดกลมสีดำ


                                         ปลาหมอโค้ว  
ลักษณะความแตกต่างระหว่างเพศ
ปลาหมอไทยเพศเมียจะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากกว่า เพศผู้ เพศผู้มีลักษณะลำตัวเรียวยาว ในระยะฤดูวางไข่ส่วนท้องของปลาเพศเมียจะอูมเป่ง


การเลือกสถานที่เลี้ยงปลาหมอ
การเลือกสถานที่ เลี้ยง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้การเลี้ยงปลาหมอไทยประสบความสำเร็จหรือ ไม่ ดังนั้นการเลือกสถานที่เลี้ยงและการออกแบบบ่อเลี้ยปลา ควรทำด้วยความ รอบคอบโดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้


1. ลักษณะดิน
ควรเป็นดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทราย น้ำไม่รั่วซึม สามารถเก็บกักน้ำได้ 4-6 เดือน ไม่ควรเลือกพื้นที่ที่เป็นดินทรายหรือดินปนกรวด
2. ลักษณะน้ำ
พื้นที่เลี้ยงควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง ที่มีน้ำตลอดปี หรืออยู่ในเขตชลประทาน หากเป็นพื้นที่ที่อาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ควรพิจารณาปริมาณน้ำฝนที่ตกในรอบปีด้วย
3. แหล่งพันธุ์ปลา
เพื่อความสะดวกในการลำเลียงปลามาเลี้ยง พื้นที่เลี้ยงไม่ควรอยู่ห่างไกลจากแหล่งปลา
4. ตลาด
แม้ว่าหลังจากจับปลาขายจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงปากบ่อ แต่หากพื้นที่เลี้ยงอยุ่ใกล้ตลาด จะทำให้ได้เปรียบในการขนส่งผลผลิตเพื่อการจำหน่าย อย่างไรก็ตาม บ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำที่อยู่ในเขตพื้นที่น้ำจืด สามารถนำมาใช้เป็นบ่อเลี้ยงปลาหมอไทยได้


การเตรียมบ่อเลี้ยง
การเตรียมบ่อเลี้ยงเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ซึ่งจะส่งผลต่อผลิตที่จะได้รับ ขั้นตอนการเตรียมบ่อก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงสามารถทำได้ ดังนี้


1. สูบน้ำออกจากบ่อให้แห้ง
การสูบน้ำจากบ่อให้แห้งจะช่วยกำจัดศัตรูปลาที่มีอยู่ในบ่อ หลังจากการสูบบ่อแห้งแล้วหว่านปูนขาวในขณะที่ดินยังเปียก ในอัตรา 60-100 กิโลกรัมต่อไร่เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน
2. กำจัดวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำ
วัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำที่มีอยู่ในบ่อ จะเป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของศัตรูปลาหมอไทยเช่น ปลาช่อน กบ และงู เป็นต้น และทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำลดลง เนื่องจากวัชพืชน้ำใช้ออกซิเจนในการหายใจเช่นเดียวกับปลา นอกจากนี้ การที่มีพืชอยู่ในบ่อมาก จะเป็นอุปสรรคต่อการให้อาหาร และการวิดจับปลา




3. การตากบ่อ
การตากบ่อจะททำให้แก๊สพิษในดินบางชนิดสลายตัวไป เมื่อถูกความร้อนและแสงแดด ทั้งยังเป็นการฆ่าเชื้อโรค และศัตรูปลาที่ฝังตัวอยู่ในดิน ใช้เวลาในการตากบ่อ 2-3 สัปดาห์
4. สูบน้ำเข้าบ่อ
สูบน้ำใส่บ่อให้ได้ระดับ 60-100 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 2-3 วัน ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง แต่ก่อนที่เราจะปล่อยปลาลงเลี้ยง ต้องใช้อวนไนล่อนสีฟ้ากั้นรอบบ่อให้สูงจากพื้นประมาณ 90 เซนติเมตร เพื่อป้องกันปลาหลบหนีออกจากบ่อ เนื่องจากปลาหมอไทยมีนิสัยชอบปีนป่าย
5. การปล่อยปลาลงเลี้ยง
การปล่อยพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ให้วางไข่ในบ่อ วิธีนี้จะช่วยลดปัญหาเรื่องลูกปลาตายในระหว่างการลำเลียงได้ โดยการคัดเลือกพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่มีไข่และน้ำเชื้อสมบูรณ์ พร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่ คือตัวเมียจะมีส่วนท้องที่อูม มีไข่สีเหลือง ส่วนตัวผู้ที่ท้องจะมีเชื้อสีขาว คล้ายน้ำนม เมื่อคัดพ่อแม่พันธุ์ปลาได้แล้ว จะฉีดฮอร์โมนเร่งการวางไข่ให้กับตัวเมียในอัตราเข้มข้นฮอร์โมนสังเคราะห์ 10 ไมโครกรัม และยาเสริม 5 มิลลิกรัม ต่อปลา 1 กิโลกรัม แล้วปล่อยให้วางไข่ในกระชังตาห่างซึ่งแขวนอยู่ในบ่อที่มีระดับน้ำไม่น้อย กว่า 50 เซนติเมตร เมื่อวางไข่หมดแล้วจึงนำกระชังพ่อแม่พันธุ์ขึ้น ปล่อยให้ไข่ฟักเป็นตัว หลังจากลูกปลาฟักออกเป็นตัว ประมาณ 4 วัน จึงเริ่มให้อาหารสำเร็จรูปชนิดผง เป็นระยะเวลา 3-4 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นปลาสดสับละเอียด และเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ด เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น


การเลี้ยงและการให้อาหารปลาหมอ
ปลาหมอไทยเป็น ปลาที่กินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ในการเลี้ยงจึงให้อาหารเม็ดปลาดุก ใน อัตรา 3-5 % ของน้ำหนักตัว วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น โดยในช่วงแรกของการ เลี้ยงจะใช้อาหารเม็ดปลาดุกขนาดเล็กหรือปาสดสับละเอียด เป็น เวลา 2 เดือน และถัดมาเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดปลาดุกขนาดใหญ่ เมื่อปลามีขนาด ใหย๋ขึ้น การให้อาหารต้องหว่านให้ทั่วบ่อ และต้องสังเกตการกินอาหารของปลา ด้วย ถ้ามีอาหารเหลือมากเกินไป ควรลดอาหารในมื้อถัดไปให้น้อยลง เพราะอาจทำ ให้น้ำในบ่อเน่าเสียได้


                                          ปลาหมอม้าลาย


อาหารและการให้อาหาร
การเปลี่ยนถ่ายน้ำ
การเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ จะทำให้ปลามีการกินอาหารดีขึ้น ส่งผลให้ปลาเจริญเติบโตดี ทั้งนี้ก่อนเปลี่ยนน้ำทำทุกครั้ง ต้องแน่ใจว่า คุณภาพน้ำที่สูบเข้ามาใหม่ไม่แตกต่างกับคุณภาพน้ำในบ่อมากนัก ในช่วงเดือนแรก ไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ แต่จะใช้วิธีเพิ่มระดับน้ำทุกสัปดาห์ หลังจากเดือนแรกแล้ว จึงเปลี่ยนถ่ายน้ำเดือนละ 2-3 ครั้ง โดยเปลี่ยนถ่ายน้ำครั้งละ 1 ใน 3 ของน้ำในบ่อ หรือขึ้นอยู่กับสภาพคุณภาพน้ำในบ่อด้วย


ระยะเวลาการเลี้ยงและการจับ
ระยะเวลาการเลี้ยงขึ้นอยู่กับขนาดปลาของปลาที่ตลาดต้องการ แต่โดยทั่วไป จะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4-5 เดือน การจับปลาหมอไทย โดยทั่วไปจะใช้วิธีการจับแบบวิดบ่อแห้ง โดยก่อนจับปลาจะต้องสูบน้ำออกจากบ่อให้เหลือน้อยแล้วจึงตีอวนจับปลา โดยลากอวนจากขอบบ่อด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง แล้วจึงยกอวนขึ้น ใช้สวิงจับใส่ตะกร้าเพื่อคัดขนาด จนกระทั่งเหลือปลาจำนวนน้อยจึงสูบน้ำออกจากบ่อให้หมด หลังจากนั้นจึงตากบ่อให้แห้ง เพื่อเตรียมบ่อใช้เลี้ยงปลาในรุ่นต่อไป


ในการจำหน่ายปลาหมอไทย แบ่งออกเป็น 3 ขนาด ดังนี้
1. ปลาขนาดใหญ่ ขนาด 6-10 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 55-60 บาท
2. ปลาขนาดกลาง ขนาด 7-20 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 25-30 บาท
3. ปลาขนาดเล็ก ขนาดมากกว่า 20 ตัว/กก. ราคากิโลกรัมละ 15-20 บาท


**** หมายเหตุราคาการขายปลาขึ้นอญุ่กับแต่ละพื้นที่และฤดูในการจับปลา****


วิธีปฏิบัติและข้อควรระวังในการใช้ยาและสารเคมีในการเลี้ยงปลาหมอ
การใช้ยาและสารเคมีทุกชนิดควรใช้ด้วยความระมัดระวัง และมีสิ่งควรปฏิบัติ ดังนี้
1. ก่อนใช้ยาและสารเคมีทุกชนิด ควรอ่านวิธีใช้ให้ละเอียด เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น
2. ควรสวมถุงมือและใส่หน้ากากกันฝุ่นขณะใช้ยา
3. เมื่อใช้ยาและสารเคมีแล้ว ควรชำระร่างกายให้สะอาดทุกครั้ง
4. กรณีที่ใช้ยาผิดขนากกับสัตว์น้ำโดยใช้วิธีแช่ ควรถ่ายน้ำทันที ส่วนวิธีผสมอาหารควรตรวจสอบให้รอบคอบก่อนใช้


การใช้ยาและข้อควรระวัง
1. ฟอร์มาลิน ควรใช้ในบ่อน้ำที่ไม่เขียวจัด และควรใส่ในตอนเช้า เนื่องจากฟอร์มาลินจะทำให้พืชน้ำสีเขียวขนาดเล็กตาย และอาจทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน ทำให้ปลาตายได้
2. เกลือ การใช้เกลือจะ ต้องระวังเกี่ยวกับความเค็มที่เพิ่มขึ้นอย่างทันที ปลาอาจปรับตัวไม่ทัน โดยให้แบ่งเกลือที่คำนวณได้แล้วออกเป็น 3 ส่วน และใส่ส่วนแรกลงไป เพื่อรอดูอาการปลาประมาณ 1 ชั่วโมง จึงใส่ส่วนที่ 2 และ 3 ต่อไป




การคำนวณใส่ยาเพื่อใส่ในบ่อ
วัดขนาดความกว้าง ความยาวของบ่อ และระดับความลึกของน้ำในบ่อ (หน่วยเป็นเมตร) แล้วคำนวณปริมาณยาที่จะใช้ เช่น บ่อมีความกว้าง 40 เมตร ยาว 40 เมตร ระดับน้ำลึก 1.50 เมตร


ปริมาตรน้ำ = กว้าง x ยาว x ความลึกของน้ำ
= 40 x 40 x 1.50 เมตร
= 2400 ลูกบาศก์เมตร
ดังนั้น ถ้าต้องการใช้ฟอร์มาลิน ความเข้มข้น 25 พีพีเอ็ม ในการรักษาโรคจะต้องใช้ 25 x 2400 = 60000 ซีซี หรือประมาณ 60 ลิตร


โรคและการป้องกัน
โดยทั่วไป โรคปลาหมอไทยมักแพร่ระบาดในฤดูฝน ในทางปฏิบัติ เกษตรกรควรใช้เกลือเม็ดหว่าน ลงในบ่ออัตรา 80 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับการใช้ปูนขาว อัตรา 20 กิโลกรัมต่อ ไร่ ละลายในน้ำแล้วสาดให้ทั่วบ่อ อย่างไรก็ตาม โรคที่เกิดขึ้นในบ่อเลี้ยง ปลาหมอไทยมักเกิดจากปรสิตภายนอก เชื้อรา และแบคทีเรีย ต่อไปนี้


โรคต่างๆในปลาหมอ
โรคจุดขาว
อาการ ปลาจะมีจุดสีขาวขุ่นขนาดเท่าหัวเข็มหมุด กระจายอยู่ตามลำตัวและครีบ
สาเหตุ เกิดจากเชื้อโปรโตซัว ที่กินเซลล์ผิวหนัง
การป้องกันและรักษา เนื่องจากปรสิต ชนิดนี้จะฝังตัวอยู่ใต้ผิวหนัง การกำจัดได้ผลไม่เต็มที่ วิธีที่ดีที่สุด คือการทำลายตัวอ่อนในน้ำ หรือทำลายตัวแก่ขณะว่ายน้ำอิสระ โดยการใช้ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซีต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง และแยกปลาที่เป็นโรคออกจากบ่อ




โรคจากเห็บระฆัง
อาการ ปลาจะเป็นแผลตามผิวหนังและเหงือก
สาเหตุ เกิดจากเห็บระฆังเข้าไปเกาะตามลำตัวและเหงือก
การป้องกันและรักษา ปรสิตชนิดนี้จะ แพร่ได้รวดเร็ว และทำให้ปลาตายได้ในระยะเวลาอันสั้น และมีการติดต่อระหว่างบ่อที่ใช้อุปกรณ์ร่วมกัน การกำจัดทำได้โดยใช้ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซี
ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ไว้ 1 ชั่วโมง


โรคตกเลือดตามซอกเกล็ด
อาการ ปลาจะมีแผลสีแดงเป็นจ้ำๆ ตามลำตัวโดยเฉพาะที่ครีบและซอกเกล็ด ถ้าเป็นแผลเรื้อรังอาจมีอาการเกล็ดหลุด บริเวณรอบๆ และด้านบนของแผลจะมีส่วนคล้ายสำลีสีน้ำตาลปนเหลืองติดอยู่
สาเหตุ เกิดจากปรสิตเซลล์เดียวที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือกระจุก
การป้องกันและรักษา
1. ใช้เกลือเม็ด 5-10 กิโลกรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ไว้ 48 ชั่วโมง
2. ใช้ฟอร์มาลิน 25-40 ซีซี ต่อน้ำ 1000 ลิตร หลังจากแช่ยาแล้ว ถ้าปลามีอาการไม่ดีขึ้น ควรเปลี่ยนน้ำแล้วพักไว้ 1 วัน จากนั้นจึงใส่ยาซ้ำอีก 1-2 ครั้ง


โรคจากเชื้อรา
อาการ ปลาจะมีแผลเป็นปุยขาวๆ ปนเทา คล้ายสำลีปกคลุมอยู่
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา
การป้องกันและรักษา
1. ใช้มาลาไคท์กรีน 0.1-0.15 กรัม ต่อน้ำ 1000 ลิตร แช่ 24 ชั่วโมง
2. ใช้ปูนขาว 20 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อปรับคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยง




ตระกูลปลาหมอปลาในตระกูลปลาหมอ


ปลาหมอไทย
ชื่อสามัญ Climbing perch
ชื่อวิทยาศาสตร์ Anabas testudineus
ชื่อไทย ปลาหมอ เข็ง สะเด็ด อีแกบูยู
ปลาหมอ ปลาน้ำจืดพันธุ์พื้นเมืองของไทยแต่โบราณ เป็นปลาที่รู้จักและนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศไทย อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วๆไป เป็นปลาที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษช่วยหายใจ(labyrinth organ)อยู่ในช่องเหงือกใต้ลูกตา จึงสามารถอยู่บนบกได้นาน ชอบปีนป่ายขึ้นมายามฝนตก ว่ายทวนน้ำเพื่อไปหาอาหาร และชอบขึ้นมาพ่นน้ำปุดๆ เมื่อน้ำนิ่ง จึงทำให้มันติดเบ็ดได้ง่ายดายกว่าปลาอื่นๆ จนนำมาเป็นสำนวนไทยที่ว่า “ปลาหมอตายเพราะปาก” ซึ่งแปลว่าคนที่พูดพล่อยๆ จนเป็นอันตรายแก่ตนเองปลาหมอสามารถปรับตัวเจริญเติบโตเข้ากับสภาพแวดล้อมที่ เป็นน้ำกร่อยที่มีความเค็มไม่เกิน 7 ส่วนในพันได้ ปลาหมอไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า ปลาเข็ง ภาคเหนือเรียกว่า สะเด็ด ภาคใต้ตอนล่างเรียกชื่อเป็นภาษายาวีว่า อีแกบูยู ชาวบ้านทั่วๆไปเรียกว่า ปลาหมอ พบมากในแถบจีนตอนใต้ อินโดจีน ไทย มลายู พม่า อินเดีย ศรีลังกา ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย
รูปร่างลักษณะภายนอก
ปลาหมอไทยมีลำตัวค่อนข้างแบนลำตัวมีสีน้ำตาลดำหรือคล้ำ ส่วนท้องมีสีขาวหรือเหลืองอ่อน ลักษณะเด่นคือ มีเกล็ดแข็งห่อหุ้มตัวโดยตลอด ดวงตากลมโต ปากแยงขึ้นเล็กน้อย กระพุ้งแก้มมีลักษณะเป็นหนามหยักแหลมคมใช้ในการปีนป่าย บริเวณโคนหางมีจุดกลมสีดำ ฟันค่อนข้างแหลมคม เมื่อโตเต็มที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก ลำตัวกว้างสักสามนิ้วมือเรา ยาวประมาณ 10-15 ซม
ลักษณะความแตกต่างระหว่างเพศ
ปลาหมอไทยเพศเมียจะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากกว่า เพศผู้ เพศผู้มีลักษณะลำตัวเรียวยาว ในระยะฤดูวางไข่ส่วนท้องของปลาเพศเมียจะอูมเป่งปลาหมอเป็นปลาที่กินสัตว์น้ำ ที่มีขนาดเล็กกว่า ชอบกินอาหารที่ผิวน้ำและกลางน้ำ และยังสามารถกิน เมล็ดข้าว ธัญพืช ปลวก ตัวอ่อนแมลงน้ำ ตั๊กแตน กุ้งฝอยหรือลูกปลาเล็กปลาน้อยที่มีชีวิตหรือตายเป็นอาหาร
ปลาหมอไทย เนื้อปลาจะหวานมันเป็นพิเศษ ในช่วงเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวใหม่ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนกุมภา พันธุ์
                                          ปลาหมอตาล
ปลาหมอตาล
ชื่อวิทยาศาสตร์ Helostroma temmincki
ชื่อสามัญ Temminck’s kissing
ชื่อไทย ปลาหมอตาล อีตาล ใบตาล วี ปลาจูบ

                                         ปลาหมอตาล
อุปนิสัย
สามารถผุดขึ้นมาอุบอากาศเหนือผิวน้ำโดยตรงนอกเหนือจากการหายใจด้วยเหงือกตามปกติ
ความสำคัญ
ปลาหมอตาลเป็นปลาน้ำจืดที่มีความทนทาน อยู่ในแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ที่มีกระแสน้ำไม่เชี่ยว เลี้ยงง่าย รสดี พบทั่วไปเฉพาะในนาข้าวหลังการเก็บเกี่ยวเป็นปลากินพืชสามารถเลี้ยงในบ่อได้ ปลาหมอตาลเผือกนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่อเรียกต่างๆกัน เช่น ปลาอีดัน ปลาใบตาล ปลาวี ปลาจูบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Helostoma temminckii ( เฮ-โล-สะ-โต-ม่า เทม-มิน-คิ-อาย)
                                          ปลาหมอตาล
รูปร่างลักษณะ
เป็นปลาน้ำจืดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับปลาหมอ รูปร่างป้อมสั้น ลำตัวแบนข้างมากกว่าปลาหมอไทย หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ ปากเล็ก ยืดหดได้ ริมปากหนาริมฝีปากบนและล่างเท่ากัน ฟันละเอียด ตาอยู่เหนือมุมปาก เกล็ดเล็กมีอยู่ที่เส้นข้างตัว 44-48 เกล็ด เส้นข้างลำตัวขาดตอนตรงบริเวณใต้ก้านครีบอ่อนของครีบหลัง ครีบหลังและครีบก้นยาว ส่วนที่เป็นก้านครีบอ่อนมีขนาดใกล้เคียงกับหาง ครีบหูยาว ปลายมน ครีบท้องมีปลายเรียวแหลม พื้นลำตัวเป็นสีเขียวปนเทา หรือเขียวอ่อน หลังสีเทาปนดำ ท้องสีขาว ข้างลำตัวมีเส้นลายดำพาดตามยาวลำตัว ตัวโตเต็มที่มีความยาวถึง 32.5 เซนติเมตร อยู่ในครอบครัวเดียวกับปลาหมอ คือ Anabantidae ( อะ-นา-แบน-ทิ-ดี้ )ปลาหมอตาลขนาด 15 เซนติเมตรขึ้นไปจึงเห็นความแตกต่างของเพศชัดเจน ปลาตัวเมียจะมีก้านครีบอ่อนอันแรกเป็นเส้นยื่นยาวกว่าก้านครีบอันอื่นๆ ท้องนิ่มอูมป่องทั้งสองข้างก้านครีบอ่อนแรกของตัวผู้ไม่เป็นเส้นยื่นยาว เอามือลูบท้องไปทางรูก้นเบาๆจะมีน้ำเชื้อสีขาวคล้ายน้ำนมไหล ตัวผู้มีสีเข้มกว่าตัวเมีย ในชั่วชีวิตหนึ่งๆสามารถวางไข่ได้ถึง 5 ครั้ง ตามธรรมชาติปลาวางไข่ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง ตุลาคม ปีละครั้ง อาหารธรรมชาติกินพรรณไม้น้ำ แมลงน้ำ
การจูบกันเองของปลาชนิดนี้นั้น เป็นการขู่ และข่มกัน ก่อนจะเกิดการต่อสู้ครับ หรือถ้าตัวไหนยอมแพ้ตั้งแต่จูบกัน ก็จะถอยไปเอง นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
ปลาหมอช้างเหยียบ
ชื่อสามัญ : Striped Tiger Nandid
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pritolepis fasciatus
ชื่อไทย : ปลาหมอโค้ว ปลาก่า ตะกรับ โพรก หน้านวล หมอน้ำ ปาตอง
ลักษณะทั่วไป
เป็น ปลาน้ำจืดขนาดเล็ก มีรูปร่างป้อมเป็นรูปไข่หรือกลมรี ลำตัวด้านข้างแบน พื้นลำตัวสีเขียวหรือน้ำตาลปนเหลือง (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม) มีเกล็ด ปกคลุมทั่วตัว มีแถบสีดำพาดขวางลำตัวประมาณ 8-12 แถบ แถบนี้จะเห็นชัดขณะที่ปลายังเล็ก หัวเล็ก จะงอยปากสั้นทู่ ปากเล็กยืดหดได้เล็กน้อย มีฟันซี่เล็ก ๆ เป็นแถวอยู่บนขากรรไกรบนและล่าง รูจมูกแยกจากกันอย่างเด่นชัดและอยู่ชิดกับตา ครีบหลังมีสองส่วนเชื่อมติดกันเป็นแนวยาว ส่วนหน้าเป็นก้านเดี่ยวมีลักษณะเป็นหนามแหลมคม ส่วนหลังเป็นครีบอ่อน ครีบก้นใหญ่มีก้านครีบแข็งและมีลักษณะแหลมคม ครีบหางใหญ่ ปลายหางมนกลม มีขนาดความยาว 5 – 20 เซนติเมตร
นิสัย : มีนิสัยก้าวร้าว หวงถิ่น มักกัดทำร้ายกันเอง
ถิ่นอาศัย : แหล่งน้ำนิ่งในประเทศไทย และเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประเทศไทย พบตามลำคลอง หนอง บึงทุกภาค
อาหาร : ไข่ปลาทุกชนิด ลูกกุ้ง ลูกปลา แมลงน้ำ

                                         ปลาหมอทอดกระเทียม
การสังเกตเพศ
ปลาตัวผู้จะมีปลายครีบที่ยาวและชี้แหลมกว่าตัวเมียช่วงใกล้ฤดูผสมพันธุ์เวลา รีด ท้องจะมีน้ำเชื้อสีขาวขุ่นไหลออกมาส่วนตัวเมียเวลารีดท้องจะมีไข่ไหลออกมา รูทวาร
แพร่พันธุ์ โดยวางไข่เกาะติดตามวัสดุใต้น้ำ วางไข่ครั้ง ละไม่ต่ำกว่า 1,000 ฟอง ขึ้นไปจนถึงหลายหมื่นฟอง ขึ้นอยู่กับขนาดและความสมบูรณ์ของแม่ปลา

ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:


http://www.fisheries.go.th
http://blog.taradkaset.com
http://jawnoyfishing.blogspot.com

http://www.siamfishing.com


read more "ปลาหมอ"
 

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม